Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

รายงานสถานการณ์แรงงานจ้งหวัดยะลา รายปี 2557

pll_content_description

 บทสรุปผู้บริหาร

­

สภาพเศรษฐกิจ

          สำนักงานคลังจังหวัดยะลา รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลา ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 ว่าเศรษฐกิจจังหวัดมีสัญญาณหดตัวจาก ด้านอุปทาน เป็นผลมาจากการหดตัวของการผลิตภาคเกษตรกรรม
และภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงด้านอุปสงค์ ตามการหดตัวของการค้าชายแดนและการบริโภคภาคเอกชน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อของจังหวัดยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีขณะที่รายได้เกษตรกรในจังหวัดยะลาอยู่ในภาวะชะลอตัว

เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) มีสัญญาณหดตัว สะท้อนจากดัชนี ผลผลิตภาคเกษตรกรรม ในเดือนพฤศจิกายน 2557 หดตัวร้อยละ 36.26 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากภาพรวมของสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการออกไปกรีดยางของเกษตรกรเนื่องจากฝนที่ตกชุกในหลายพื้นที่ทำให้เกษตรกรมีจำนวนวันในการกรีดยางลดลงร้อยละ 36.60 ด้านภาคบริการหดตัว โดยดัชนีภาคบริการหดตัวร้อยละ 13.26 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 15.26 เป็นผลมาจากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยมีปริมาณฝนตกติดต่อกันเกือบตลอดทั้งเดือน ส่งผลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว เพราะเกรงว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการเดินทาง โดยเฉพาะในการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเบตง อาทิ สวนดอกไม้เมืองหนาว อุโมงค์ปิยะมิตร บ่อน้ำร้อน เป็นต้น สอดคล้องกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในโรงแรมและที่พักที่ลดลงร้อยละ 8.60 ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.90 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราขยายตัวร้อยละ 1.70 เนื่องจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งมาจากมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลที่เข้ามารับซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปขั้นต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) โดยรวมหดตัว จากเครื่องชี้ ดัชนีการค้าชายแดนหดตัวร้อยละ 34.08 จากมูลค่าการส่งออกรวมหดตัวร้อยละ 35.62 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีความต้องการลดลงโดยการส่งออกที่ปรับตัวลดลงมาจากการส่งออกสินค้าในหมวดเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบในตลาดโดลกที่มีแนวโน้มตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.48 สะท้อนผ่านเครื่องชี้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรถจักยานยนต์ทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ 50.26 และ 36.53 ตามลำดับ จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงตามรายได้จากภาคครัวเรือนประกอบกับหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นขณะที่ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 3.40 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายงบประจำขยายตัวร้อยละ 3.94 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายของส่วนราชการเพื่อเร่งอัดแดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณทำให้ส่วนราชการสามารถก่อหนี้ผูกพัน และเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนหดตัว ร้อยละ 3.08 เนื่องจากส่วนราชกรอยู่ระหว่างขั้นตอนของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวร้อยละ 2.52 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้าง และจำนวนรถยนต์บรรทุกจดทะเบียนใหม่ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการลงทุนรวมที่ชะลอตัว

การลงทุน

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดยะลา พบว่า การลงทุนปี 2557 (มกราคม-ธันวาคม) จำนวนการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ทั้งสิ้นเฉลี่ยทั้ง 4 ไตรมาส จำนวน 107 แห่ง ทำให้มีเงินลงทุน
96.35 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ การขายส่ง การขายปลีกฯ
และการก่อสร้าง เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 16.91 ล้านบาท

ประชากรและกำลังแรงงาน

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติจังหวัดยะลา พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปในปี 2557
(มกราคม-ธันวาคม) มีจำนวนทั้งสิ้น 322
,837 คน พบว่า เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 227,859 คน
โดยจำแนกเป็น ผู้มีงานทำจำนวน 223,404 คน คิดเป็นร้อย 98.04 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่มี
ผู้ว่างงาน 4,409 คน หรือร้อยละ 1.93 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน และในปี 2557 มีผู้ที่รอฤดูกาลจำนวน 187 คน
เมื่อเปรียบเทียบผู้มีงานทำกับปี 2556 ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.14 จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้น การไฟฟ้า ก๊าช การประปา และอื่นๆ โดยมีผู้มีงานทำในอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรการล่าสัตว์ การป่าไม้และการประมง มากที่สุดจำนวน 153,230 คน รองลงมาเป็นพนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและตลาด 35,199 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10,620 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 62,914 คน รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษามัธยมตอนต้น จำนวน 42,093 คน

ความต้องการแรงงาน

          จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ความต้องการแรงงานในจังหวัดยะลาในปี 2557 (มกราคม – ธันวาคม) นายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงาน จำนวน 2,422 อัตรา ส่วนใหญ่
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวน 831 คน รองลงมา คือ ปวส. 562 คน ส่วนอาชีพที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 866 คน รองลงมาเป็นเสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 635 คน และช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 318 คน 

ผู้สมัครงาน

          จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ผู้สมัครงานที่มาใช้บริการจัดหางานในปี 2557 จำนวน 5,607 คน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 1,926 คน (ร้อยละ 34.35) รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,542 คน (ร้อยละ 27.50) ผู้สมัครงานส่วนใหญ่สมัครงานในตำแหน่งพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า และตลาด จำนวน 2,072 (ร้อยละ 36.95)  ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดยะลาเป็นอย่างมาก รองลงมา คือ เสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 1,349 คน (ร้อยละ 24.06) และช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 742 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.23

การบรรจุงาน

          จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ผู้สมัครที่ได้รับการบรรจุงานในปี 2556
จำนวน 2,070 คน  ตำแหน่งงานว่างที่ได้รับการบรรจุงานมากที่สุด คือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า และตลาด จำนวน 799 คน (ร้อยละ 38.60) รองลงมาเสมียน เจ้าหน้าที่ 619 คน (ร้อยละ 29.90) และช่างเทคนิค และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 224 คน (ร้อยละ 10.82)

การทำงานของคนต่างด้าว

          จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปี 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 163 คน เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว  จำนวน 126 คน ประเภทมาตรา 12 ยกเว้นมติครม. จำนวน 36 คน สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี ปี  2549 
เป็นแรงงานที่ประเทศไทยอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ แรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ  คือ  พม่า  ลาว  กัมพูชา  สำหรับในจังหวัดยะลา ณ เดือนธันวาคมมีจำนวนทั้งสิ้น  5,776  คน  หากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีสัดส่วนถึง 5,182 คน กัมพูชา 494 คน และ
สัญชาติลาว 100 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.28 (ปี 2556 จำนวน 1,601 คน)

การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ

          จากข้อมูลของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา พบว่า ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการและลูกจ้างในปี 2557 ที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 234  แห่ง  ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 16.43
(ปี 2556 จำนวน 280 แห่ง) ในปี 2557 นี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจจำนวน 6,796 คน ในส่วนผลการตรวจ
ความปลอดภัยพบว่าสถานประกอบการทั้งหมดจำนวน 114 แห่ง มีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 112 แห่ง (ร้อยละ 98.25) และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 2 แห่ง (ร้อยละ 1.75)

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน

          จากข้อมูลของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา พบว่า จังหวัดยะลาในปี  2557 มีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 143 คน เป็นกลุ่มอาชีพ 3 ลำดับที่มีการฝึกเข้าทำงานมากที่สุดในจังหวัดยะลา
ซึ่งจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 89 คน ร้อยละ 62.24 ช่างเครื่องกล จำนวน 41 คน ร้อยละ 28.67 และช่างอุตสาหกรรม จำนวน 7  ร้อยละ 4.90 คน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
มีผู้รับการฝึก  จำนวน  2,562 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างเข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 3 ลำดับแรก คือ ธุรกิจและบริการ จำนวน 1,311 คน ร้อยละ 51.17 รองลงมาคือ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 375 คน ร้อยละ  14.64 และเกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 372 คน คน ร้อยละ 14.52 ด้านการทดสอบมาฐานฝีมือแรงงาน 
มีผู้รับการฝึก จำนวน  611 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมจำนวน 183 คน ร้อยละ 29.95 รองลงมาคือเป็นช่างอุตสาหกรรมช่างศิลป์ และธุรกิจและบริการ กลุ่มละ 125 คน ร้อยละ 40.92 และช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 108 คน ร้อยละ 17.68

 

สถานการณ์การเลิกจ้าง

          จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา พบว่า สถานประกอบกกิจการในจังหวัดยะลา 
ในปี 2557 ที่เลิกกิจการทั้งหมด 29 แห่ง เท่ากันกับปีที่ผ่านมา (ปี 2556 จำนวน 29 แห่ง) ปี 2557 มีผู้ถูกเลิกจ้าง จำนวน 131  คน

การประกันสังคม

จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา พบว่า ด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัด มีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ในปี 2557 (มกราคม – ธันวาคม) พบว่ามีสถานประกอบการที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม จำนวน 1,455 แห่ง ลูกจ้าง 23,890 คน ปัจจุบันจังหวัดยะลา มีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคม จำนวน 2 แห่ง

สถานการณ์แรงงานจังหวัดยะลา

 

ได้แก่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และโรงพยาบาลเบตง จำนวนการใช้บริการของกองทุนประกันสังคม พิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด 3 ลำดับ ในปีนี้ได้แก่ เจ็บป่วยมีจำนวน 1,361 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.13 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมากรณีว่างงาน จำนวน 824 ราย (ร้อยละ 26.10) และกรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 486 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.39 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด

TOP