Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

รายงานสถานการณ์แรงงานจ้งหวัดยะลา ไตรมาส 4 ปี 2557

pll_content_description

 

บทสรุปผู้บริหาร

 

 

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน  ไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) ปี 2557  มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

สภาพเศรษฐกิจ 

สำนักงานคลังจังหวัดยะลา รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลา ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557
ว่าเศรษฐกิจจังหวัดมีสัญญาณหดตัวจากด้านอุปทานเป็นผลมาจากการหดตัวของการผลิตภาคเกษตรกรรมและภาคบริการจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงด้านอุปสงค์ตามการหดตัวของการค้าชายแดน และการบริโภคภาคเอกชน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อของจังหวัดยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่รายได้เกษตรกร ในจังหวัดยะลาอยู่ในภาวะชะลอตัว

เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) มีสัญญาณหดตัว สะท้อนจากดัชนี ผลผลิตภาคเกษตรกรรม
ในเดือนพฤศจิกายน 2557 หดตัวร้อยละ 36.26 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากภาพรวมของสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการออกไปกรีดยางของเกษตรกร เนื่องจากฝนที่ตกชุกในหลายพื้นที่ ทำให้เกษตรกรมีจำนวนวันในการกรีดยางลดลงร้อยละ 36.60 ด้านภาคบริการหดตัว โดยดัชนีภาคบริการหดตัวร้อยละ 13.26 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 15.26 เป็นผลมาจากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย มีปริมาณฝนตกติดต่อกันเกือบตลอดทั้งเดือน ส่งผลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว เพราะเกรงว่าไม่ได้รับความสะดวกจากการเดินทาง โดยเฉพาะในการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเบตง อาทิ สวนดอกไม้เมืองหนาว อุโมงค์ปิยะมิตร บ่อน้ำร้อน เป็นต้น สอดคล้องกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในโรงแรมและที่พักที่ลดลงร้อยละ 8.60 ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.90 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราขยายตัวร้อยละ 1.70 เนื่องจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลที่เข้ามารับซื้อผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปขั้นต้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อรองรับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) โดยรวมหดตัว จากเครื่องชี้ ดัชนีการค้าชายแดนหดตัวร้อยละ 34.08 จากมูลค่าการส่งออกรวมหดตัวร้อยละ 35.62 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีความต้องการลดลง โดยการส่งออกที่ปรับตัวลดลงมาจากการส่งออกสินค้าในหมวดเกษตรกรรมที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบในตลาดโดลกที่มีแนวโน้มตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.48 สะท้อนผ่านเครื่องชี้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรถจักยานยนต์ทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ 50.26 และ 36.53 ตามลำดับ จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง ตามรายได้จากภาคครัวเรือนประกอบกับหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 3.40 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายงบประจำขยายตัวร้อยละ 3.94 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายของส่วนราชการ เพื่อเร่งอัดแดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ทำให้ส่วนราชการสามารถก่อหนี้ผูกพัน และเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนหดตัว ร้อยละ 3.08 เนื่องจากส่วนราชกรอยู่ระหว่างขั้นตอนของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวร้อยละ 2.52 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้าง และจำนวนรถยนต์บรรทุกจดทะเบียนใหม่ รวมถึงสินเชื่อเพื่อการลงทุนรวมที่ชะลอตัว 

สถานการณ์ด้านแรงงาน็็

จังหวัดยะลามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา จำนวน 323,770 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน224,563 คน  ผู้มีงานทำ 219,792 คน ผู้ว่างงาน 4,585 คน และผู้รอฤดูกาล 187 คน

การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดยะลา จำนวน 219,792 คน ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 149,767 คน หรือร้อยละ 68.14 ทำงานนอกภาคเกษตร จำนวน 70,025 คน โดยทำงานในสาขาการขายส่ง ขายปลีก มากที่สุด จำนวน 23,207 คน หรือร้อยละ 33.14 รองลงมาคือกิจกรรมโรงแรมและอาหาร จำนวน 12,677คน คิดเป็นร้อยละ 18.10 และการศึกษา จำนวน 8,999 คน หรือร้อยละ 12.85  

การว่างงาน  จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 4,585 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.04
โดยชายจะมีอัตราว่างงานสูงกว่าหญิงมาก กล่าวคือ เพศชายร้อยละ 1.37 ขณะที่เพศหญิงร้อยละ 0.67
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้ลดลงกว่าไตรมาสที่แล้วที่มีอัตราว่างงานภาพรวมร้อยละ 2.28

การบริการจัดหางานในประเทศ  ในช่วงไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) ปี 2557 สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 659 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 489 คน และการบรรจุงานจะมีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 87.77  

แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนธันวาคม 2557 มีจำนวน 163 คน แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 126 คน รองลงมาคือ แรงงาน
ต่างด้าวประเภทมาตรา 12 (ยกเว้นมติ ครม.) จำนวน 36 คน และประเภทส่งเสริมกรลงทุน จำนวน 1 คน ตามลำดับ โดยแรงงานต่างด้าวที่มีมากที่สุด คือสัญชาติฟิลิปปินส์ และจีน จำนวนสัญชาติละ 20 คน หรือร้อยละ 15.87 (ยกเว้นประเภทตลอดชีพ)

สำหรับแรงงานด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2556 เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 2,603 คน จำแนกเป็นสัญชาติ พม่า 2,538 คน (ร้อยละ 97.50) กัมพูชา 64 คน (ร้อยละ 2.46) และลาว 1 คน (ร้อยละ 0.04)

ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 4 ปี 2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 27คน และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า เดินทางไปโดยวิธี Re-Entry จำนวน 25 คน หรือร้อยละ 92.59 และเดินทางด้วยตนเอง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.41 และส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 19 คน  หรือร้อยละ 70.37 ภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 18.52) และแอฟริกา จำนวน 3 คน (ร้อยละ 11.11) ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  มีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 68 คน อยู่ระหว่างการฝึกจึงยังไม่ทราบผลการฝึกว่ามีผู้ผ่านการฝึกจำนวนกี่คน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 360 คน และผ่านการฝึกทั้งหมด โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือเป็นกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการทั้งสิ้น และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมีการทดสอบ 97 คน และผ่านการทดสอบ จำนวน 78คน ได้แก่ ประเภทช่างอุตสาหกรรม จำนวน 77 คน ผ่านการทดสอบ 60 คน ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 20 คน ผ่าน 18 คน

การคุ้มครองแรงงาน  จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 55 แห่ง  มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ
จำนวน 1,433 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1-4 คน ร้อยละ 45.45โดยมีสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องอยู่ 2 แห่ง

การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 22 แห่ง  ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 613 คน พบว่าในไตรมาสนี้มีสถานประกอบการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยอยู่ 2 แห่ง

การประสบอันอันตราย/เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 จังหวัดยะลามีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 10 คน โดยประเภทของความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 7 คน หรือร้อยละ 70.00 และหยุดเกิน 3 วัน จำนวน 3 คน หรือร้อยละ 30.00 และในไตรมาสไม่มีผู้ตาย สูญหาย หรือสูญเสียอวัยวะบางส่วน

การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบกิจการในจังหวัดยะลา ที่เลิกกิจการ มีจำนวน 6 แห่ง ลูกจ้าง
ถูกเลิกจ้าง 12 คน เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1-9 คน ทั้ง 6 แห่ง หรือร้อยละ 100 โดยประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด ได้แก่ ประเภทอื่นๆ จำนวน 4 แห่ง ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 4 คน ร้านสินค้าเบ็ดเตล็ด 2 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 8 คน

การประกันสังคม ข้อมูล เดือนธันวาคม 2557 พบว่าจังหวัดยะลามีสถานประกอบการที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมจำนวน 1,455 แห่ง จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้างที่อยู่ในข่ายกองทุนเงินทดแทน
จำนวน 1,268แห่ง ลูกจ้าง 13,922 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง

TOP