Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ปี 2554 (มกราคม-ธันวาคม) ปี 2554

pll_content_description

 

 

บทสรุปผู้บริหาร ปี 2554

                   สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน  ปี 2554  และผลการดำเนินงานด้านแรงงานปี 2554  รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

สภาพเศรษฐกิจ

                   เศรษฐกิจของจังหวัดยะลา ปี 2554  คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5  เพิ่มขึ้นจากปี  2553  ซึ่งการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคายางพารา  การขายส่ง  การขายปลีกฯ  การท่องเที่ยว  การผลิตอุตสาหกรรม และการลงทุนที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านอุปทาน ภาคเกษตรการทำสวนยางพาราปริมาณผลผลิตยางพาราที่ผลิตได้รวมทั้งจังหวัดมีปริมาณเพิ่มขึ้น และจะส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงการค้าระหว่างประเทศทำให้มูลค่าการส่งสินค้าออกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการทำนามีน้อย  ทั้งนี้เนื่องจากที่ราบลุ่มปริมาณข้าวที่ผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในจังหวัด ภาคนอกการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นพิจารณาจากสาขาการขายส่ง  การขายปลีกฯ ที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น  ด้านการเงิน  ปรับตัวเพิ่มขึ้นพิจารณาจากปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์  และธนาคารเฉพาะกิจ  และด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  พิจารณาจากดัชนีราคาผลิตภัณฑ์จากแป้งและผักผลไม้  เนื่องจากผลกระทบจากบางพื้นที่ชุกน้ำท่วมและบางพื้นที่แห้งแล้งส่วนด้านการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น  เงินเฟ้อของจังหวัดยะลายังอยู่ในเกณฑ์ดี  การจ้างงานขยายตัวจากจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น  การใช้จ่ายภาครัฐจะชะลอตัวจากการที่ยังไม่สามารถประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี  2555  ทำให้ส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ในบางรายการ

การลงทุน

การลงทุนปี  2554 (มกราคม-ธันวาคม) จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจกรรมใหม่ในจังหวัดยะลา มีจำนวน 8 แห่ง เงินลงทุน 72,396,000 บาท สำหรับการจ้างงาน จำนวน 361 คน     เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.21 (ปี 2553 จำนวน  152 คน) ส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต มากที่สุด เงินลงทุน 38,596,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 53.31) รองลงมาได้แก่ การก่อสร้าง จำนวน 21,000,000 บาท (คิดเป็นร้อยละ 29)

ประชากรและกำลังแรงงาน

ประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปในปี 2554 (มกราคม-ธันวาคม) มีจำนวนทั้งสิ้น 371,966 คน พบว่า เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 262,843 8คน โดยจำแนกเป็น ผู้มีงานทำจำนวน 261,483 คน (คิดเป็นร้อยละ 99.48) ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่ว่างงาน 1,360 คน หรือร้อยละ 0.5 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน และในปี 2554 ไมมีผู้ที่รอฤดูกาลเมื่อเปรียบเทียบผู้มีงานทำ ในปี 2554 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 0.6 (ปี 2553 จำนวน  259,739คน )จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้น การไฟฟ้า ก๊าช การประปา และอื่นๆโดยมีผู้มีงานทำในอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และ การประมงมากที่สุดจำนวน 168,690 คน (ร้อยละ 64.42 ) รองลงมาเป็นพนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและตลาด จำนวน 46,796คน (ร้อยละ 17.87)ส่วนใหญ่เป็นผู้จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามากที่สุดจำนวน 73,013 คน (ร้อยละ 27.92) รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 44,916 คน (ร้อยละ 17.17)

ผลการดำเนินงาน  ปีงบประมาณ  2554

การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน

                    F ให้บริการด้านแรงงานแก่ประชาชนในพื้นที่ชุมชน  พัฒนาเครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการด้านแรงงาน  ส่งเริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครแรงงานระดับตำบล  จำนวน  2,701  คน  ค่าตอบแทนอาสาสมัครแรงงานตำบล/อำเภอ/เสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครแรงงาน/พัฒนาเครือข่ายเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงาน  58  คน  

F บริการจัดการด้านแรงงานเชิงบูรณาการสู่ประชาชนในพื้นที่/ชุมชน บริการจัดการด้านแรงงานเชิงบูรณาการสู่ประชาชนในพื้นที่/ชุมชน  จำนวน  2,532  คน  ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงแรงงาน  จำนวน  370  คน 

F โครงการจ้างงานเร่งด้วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพิ่มบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ  จำนวน  487  คน 

F จ้างบัณฑิตอาสาสมัครแรงงานจังหวัดยะลา  จำนวน  59  คน

การพัฒนาข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์และระบบการบริหารแรงงาน

                   F ศึกษา  วิเคราะห์  วิจัยเพื่อพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านแรงงาน  เพื่อประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูลแรงงานจังหวัด  จัดทำรายงานสถานการณ์ด้านแรงงาน  จำนวน  4  ครั้ง/เล่ม การปรับระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานเพื่อรองรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังคนในระดับจังหวัด  จำนวน  1  ครั้ง/เล่ม

การพัฒนายุทธศาสตร์แผนและข้อเสนอแนะด้านแรงงาน

                   พัฒนาและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านแรงงานและสังคมเพื่อกำหนดนโยบายและค่าจ้างการจัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดยะลา  4  ครั้ง  สำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือ  (แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรม  ปี  2554)  จำนวน  1  ครั้ง    

ความต้องการแรงงาน

                   ความต้องการแรงงานในจังหวัดยะลาปี  2554  (มกราคม-ธันวาคม)   นายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงาน  จำนวน  5,922  อัตรา  ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด  จำนวน  2,386  คน  (ร้อยละ  40.29)  รองลงมาระดับ  ปวช.  จำนวน  1,064  คน  (ร้อยละ  17.96)  ส่วนอาชีพที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ  พนักงานบริการ  พนักงานขายในร้านค้าและตลาด      ร้อยละ  32.04  (1,898  คน)  รองลงมาเป็นอาชีพพื้นฐาน  ร้อยละ  31.56 (1,869  คน)  และเสมียน  เจ้าหน้าที่ ร้อยละ  11.75 (692  คน)  อุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานมากที่สุด  ได้แก่  การขายส่ง        การขายปลีก  การซ่อมแซมยานยนต์  รถจันยานยนต์  ของใช้ส่วนบุคคล  และของใช้ในครัวเรือน จำนวน  2,338  คน (ร้อยละ  39.47)  รองลงมาการขนส่ง  สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม  จำนวน  1,063  คน (ร้อยละ  17.95)

 

ผู้สมัครงาน

                   ผู้สมัครงานที่มาใช้บริการจัดหางาน  จำนวน  4,668  คน จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา  จำนวน  1,192  คน(ร้อยละ  25.53)  รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า  จำนวน  841  คน(ร้อยละ 18.01)  ผู้สมัครงานส่วนใหญ่สมัครงานในตำแหน่งพนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า  และตลาด  ร้อยละ  35.11  (1,639  คน)  รองลงมา  เสมียน เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 22.10(1,032 คน) ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดยะลาเป็นอย่างมาก  รองลงมาเป็นอาชีพพื้นฐาน

การบรรจุงาน

                   ผู้สมัครที่ได้รับการบรรจุงานจำนวน  1,878  คน  ตำแหน่งงานว่างที่ได้รับการบรรจุงานมากที่สุด  คือ  การขายส่ง  การขายปลีก  การซ่อมแซมยานยนต์  รถจักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคล  และของใช้ในครัวเรือน  จำนวน  1,011  คน (ร้อยละ  53.83)  รองลงมาคือ การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม  จำนวน  361  คน(ร้อยละ 19.22) และเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 41.64(782 คน)  รองลงมาระดับมัธยมการศึกษา ร้อยละ  28  (526  คน) และมีอายุระหว่าง 25-29  ปี ร้อยละ 36.74  (690คน)  รองลงมามีอายุระหว่าง  18.24  ร้อยละ  30.83  (579  คน)

การทำงานของคนต่างด้าว

                   จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปี  2554  มีจำนวนทั้งสิ้น  576 คน  เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว  จำนวน  498  คน  ประเภทมาตรา  12  ยกเว้นมติครม. จำนวน  78  คน  สำหนับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี  ปี  2549  เป็นแรงงานที่ประเทศไทยอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว  เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ แรงงานในกลุ่มนี้มี  3  สัญชาติ  คือ  พม่า  ลาว  กัมพูชา  สำหรับในจังหวัดยะลา ณ  เดือนธันวาคมมีจำนวนทั้งสิ้น  3,029 คน  หากพิจารณาตามสัญชาติ  พบว่าสัญชาติพม่ามีสัดส่วนถึง  2,758  คน  ขณะที่แรงงานกัมพูชา จำนวน 243 คน  และลาวมีจำนวน 28 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.48 (ปี 2553 จำนวน 2,006  คน)

การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ

                   ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น  247  แห่ง  ลดลงจากปีที่ผ่านมา  ร้อยละ  4.63  (ปี 2553  จำนวน  259  แห่ง) ในปี  2554นี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจจำนวน 4,081 คน  ในส่วนผลการตรวจความปลอดภัยพบว่าสถานประกอบการทั้งหมดจำนวน  134  แห่ง  มีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย  จำนวน  132  แห่ง  (ร้อยละ  98.51) และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 2 แห่ง (ร้อยละ  1.49)

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน

                   จังหวัดยะลาในปี  2554   มีผู้เข้ารับการฝึกเสริมทักษะฝีมือ  จำนวน 1,203 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 531 คน (ร้อยละ  44.1) กลุ่มอาชีพอาชีพธุรกิจและบริการจำนวน        250  คน  (ร้อยละ  20.9)  กลุ่มอาชีพเกษตรอุสาหกรรม  จำนวน  183  คน (ร้อยละ  15.2)  กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง  จำนวน  144  คน  (ร้อยละ  12)  กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้าฯ  จำนวน  75  คน  (ร้อยละ  6.2)  และกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล  จำนวน  20  คน (ร้อยละ 1.6) การฝึกระดับฝีมือแรงงาน  มีผู้รับการฝึก  จำนวน  993  คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรม  จำนวน  508  คน  (ร้อยละ  51.2) กลุ่มอาชีพช่างก่อสร้าง  จำนวน 302 คน  (ร้อยละ  30.4)  และอาชีพธุรกิจและบริการจำนวน  183  คน (ร้อยละ  18.4) และด้านการทดสอบมาฐานฝีมือแรงงาน  มีผู้รับการฝึก  จำนวน  173 คน  เป้นกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 102 คน(ร้อยละ 58.9)  อาชีพธุรกิจและบริการจำนวน  32  คน (ร้อยละ 15.8) อาชีพช่างไฟฟ้าฯ  จำนวน 20 คน  (ร้อยละ 11.6)  และช่างก่อสร้างจำนวน  19  คน  (ร้อยละ  11.0)

สถานการณ์การเลิกจ้าง

                   สถานประกอบกกิจการในจังหวัดยะลา  ที่เลิกกิจการทั้งหมด 30 แห่ง ลดลงจากปีที่ผ่านมา  ร้อยละ  21.58  (ปี 2553 139)  ปี 2554  มีผู้ถูกเลิกจ้าง  จำนวน  87  คน

การประกันสังคม

ด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัด   มีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วยข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2554 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,477 แห่ง ลูกจ้าง 19,360 คน  ปัจจุบันจังหวัดยะลา มีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง  จำนวนการใช้บริการของกองทุนประกันสังคม พิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทนซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการมีทั้งสิ้น 17,015 คน สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ในปีนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 13,667 ราย คิดเป็นร้อยละ 80.3  ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณีเจ็บป่วย มีจำนวน 1,938 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.4 กรณีว่างงาน มีจำนวน 623 ราย    คิดเป็นร้อยละ 3.7  กรณีคลอดบุตร มีจำนวน 550 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.2 กรณีชราภาพ มีจำนวน 152 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.9 กรณีตาย มีจำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.3 และกรณีทุพพลภาพ มีจำนวน  36 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.2 และหากพิจารณาตามปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน จะพบว่ามีการจ่ายเงินทั้งสิ้น 22,776,366.04 บาท โดยกรณีสงเคราะห์บุตร มีการจ่ายเงินสูงสุด ถึง 8,409,650 บาท  คิดเป็นร้อยละ 36.9 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาคือกรณีคลอดบุตร จ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 7,354,795.50 บาท (ร้อยละ 32.3) กรณีชราภาพ  เจ็บป่วย ว่างงาน ตาย และกรณีทุพพลภาพ  มีการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 2,413,077.44 บาท (ร้อยละ 10.6) 2,067,858.60บาท (ร้อยละ 9.1) 1,691,485.95บาท (ร้อยละ 7.4) 654,260.55 บาท(ร้อยละ2.9) และ185,238 บาท(ร้อยละ 0.8) ตามลำดับ

TOP