Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ไตรมาส 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2553

pll_content_description

               ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา มีจำนวน 361,649 คน ซึ่งเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 263,430 คน ผู้มีงานทำ 261,463 คน       ผู้ว่างงาน 1,967 คน

                การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดยะลา จำนวน 261,463 คน ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 177,811 คน ทำงานนอกภาคเกษตร โดยทำงานเป็นพนักงานบริการ พนักงานในร้านค้า และตลาด มากที่สุด จำนวน 37,302 คนหรือร้อยละ 14.3รองลงมาคือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9,803 คน หรือร้อยละ 3.7 และผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 77,765 คน หรือร้อยละ 29.7
                การว่างงาน จังหวัดยะลา มีผู้ว่างงานประมาณ 1,967 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 โดยผู้ว่างงานส่วนเป็นชาย 1,561 คน หรือ ร้อยละ 79.4 และหญิง 406 คน หรือร้อยละ 20.6
                การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2553     นายจ้าง / สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่ง   งานว่าง จำนวน 344 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน    476 คน และการบรรจุงาน จำนวน 208 คน               มีอัตราบรรจุงาน ต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 60.5ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด  คือ ระดับมัธยมศึกษามีความต้องการ ร้อยละ 28.5(98 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับปวส. และปวช. คือ ร้อยละ 19.2(66 อัตรา) และร้อยละ 18.9 (65 อัตรา) สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ ประเภทอาชีพช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 36.1(75 คน)  และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การขายส่ง การขายปลีกฯ ร้อยละ 27(93 อัตรา)
                อุปทานของจังหวัดยะลา พบว่า ในปี 2551 มีอุปทานรวมซึ่งเป็นแรงงานใหม่ 15,407 คน และในปี 2559 จะลดลงเหลือ 15,095 คน ซึ่งเกิดจากมีนักเรียนเข้าสู่ระบบการศึกษาน้อยลง โดยจำนวนอุปทานมีมากที่สุดที่ระดับการศึกษา ม.3 จำนวน 5,667 คน และมีนักเรียนที่จบการศึกษาและต้องการออกมาทำงานจำนวนมาก โดยเฉพาะระดับ ม.6 ซึ่งมีจำนวนถึง 4,848 คน ส่วนระดับ ปวส./อนุปริญญา เข้าสู่ตลาดแรงงานถึง 1,580 คน สูงกว่าจำนวนอุปทานระดับ ปวช.
                เมื่อเปรียบเทียบอุปสงค์กับอุปทานตามระดับการศึกษา พบว่า ทุก ๆ ปี (2551-2559) เศรษฐกิจของจังหวัดยะลาไม่สามารถดูดซับอุปทานของจังหวัดได้หมด ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Surplus Labor) ถึง 15,284 คนในปี 2551 และ 15,189 คนในปี 2559 แรงงานที่เหลือบางส่วนก็ย้ายถิ่น (Migrate) ไปหางานทำยังจังหวัดอื่น ๆ
                แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนมีนาคม 2553 มีจำนวน 145 คน แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 133 คน และแรงงานต่างด้าวประเภทมาตรา 12 (ยกเว้นมติ ครม.) จำนวน 12 คน โดยแรงงานต่างด้าวสัญชาติฟิลิปปินส์ มีมากที่สุด จำนวน 42 คน หรือร้อยละ 31.6 และรองลงมาคือสัญชาติจีน จำนวน 22 คน (ร้อยละ16.5)
                สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติ      คณะรัฐมนตรี ปี 2549 และปี 2550 เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 2,014 คน โดยสัญชาติพม่า มีมากที่สุด คือ ร้อยละ 96.6(1,946 คน) รองลงมาเป็นสัญชาติกัมพูชา มีจำนวน 38  คน (ร้อยละ 1.9) และ สัญชาติลาว มีจำนวน  30 คน (ร้อยละ 1.5)
 
                แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 แรงงานไทยจากจังหวัดยะลาที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ มีจำนวน 9 คน พบว่า ไปโดยวิธี Re-Entry ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่ คือ ในภูมิภาค เอเชีย
                การพัฒนาศักยภาพแรงงาน ไตรมาสนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานใน    จังหวัดยะลา จำนวน 579 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 326 คน รองลงมาเป็นกลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 127 คน อาชีพ           ช่างก่อสร้าง 80 คนและช่างเครื่องกล 46 คน    การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มีผู้เข้ารับการทดสอบการฝึกจำนวน 115 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างเครื่องกล จำนวน 88 คน รองลงมาเป็นช่าง ก่อสร้าง จำนวน 20 คน และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 7 คน
                การคุ้มครองแรงงาน จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 116 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 4,564 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจ ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 20-49 คน จำนวน 33 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28.4 ของสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจทั้งหมด รองลงมาเป็นขนาด 10-19 คน มีจำนวน 32 แห่ง ร้อยละ 27.6โดยสถานประกอบการทุกแห่งปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
                การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 55 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 2,351 คน พบว่าสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัยทุกแห่ง
                การประสบอันตราย / เจ็บป่วยจากการทำงาน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 จังหวัดยะลา มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจาก       การทำงาน จำนวน 58 คน โดยประเภทของ ความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 35 คน(ร้อยละ 60.3) และหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 22 คน(ร้อยละ 38) ไตรมาสนี้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
                การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบกิจการในจังหวัดยะลา ที่เลิกกิจการมีจำนวน 8แห่ง มีผู้ถูกเลิกจ้าง จำนวน 12 ราย
                การประกันสังคม จังหวัดยะลา มีสถานประกอบการที่ ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 1,479 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 19,756 คน และ     มีสถานพยาบาล ในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง
                จำนวนผู้ใช้บริการกองทุนประกันสังคม ประเภทประโยชน์ทดแทน มีจำนวน 21,687 คน ผู้ประกันตนที่ใช้บริการสูงสุด ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีจำนวน 18,704 คน หรือร้อยละ 86.2ของผู้ใช้บริการทั้งหมด สำหรับปริมาณ       การจ่ายเงิน พบว่า การจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร มีการจ่ายเงินสูงสุด ถึง 7,076,650 บาท หรือ     ร้อยละ 37.5 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย
TOP