บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ไตรมาส 1 ปี 2555 มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจ
สำนักงานคลังจังหวัดยะลารายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในไตรมาส 1ปี 2555พบว่าอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ 1) เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ (ร้อยละ 37.7 ของGPP) 2) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ฯ (ร้อยละ 12.6 ของGPP) 3) การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ (ร้อยละ 8.0 ของGPP) ซึ่งพบว่าการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ มีอัตราเปลี่ยนแปลงลดลงสูงสุด ดัชนีผู้บริโภคของจังหวัดเดือนมีนาคม 2555 เท่ากับ 123.4 สูงขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 0.9 การจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่มีจำนวน 5 ราย ทุนจดทะเบียน 148.40 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุดคือ การบริการด้านสังหาริมทรัพย์ การใช้เช่าและบริการทางธุรกิจ ในส่วนการจดทะเบียนโรงงานจัดตั้งใหม่ พบว่ามีจำนวน 11 ราย
สถานการณ์ด้านแรงงาน
ประชากรและกำลังแรงงาน จังหวัดยะลามีประชากรมีจำนวน 375,909 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 265,580 คน ผู้มีงานทำ 264,202 คน ผู้ว่างงาน 1,378 คน ไตรมาสนี้ไม่มีผู้รอฤดูกาล
การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดยะลาจำนวน 264,202 คน หรือร้อยละ 70.3 ทำงานในภาคเกษตรผู้มีงานทำ จำนวน 174,602 คน หรือร้อยละ 66.1 ทำงานนอกภาคเกษตรโดยทำงานในสาขาการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ มากที่สุด จำนวน 31,947 คน หรือร้อยละ 12.1 รองลงมาคือโรงแรมและภัตตาคาร จำนวน 15,046 หรือร้อยละ 5.7 และผู้มีงานทำส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 79,122 คน หรือร้อยละ 29.9
การว่างงาน จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 1,378 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.52 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 3 ปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงาน 2,591 คน) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว พบว่า อัตราการว่างงานใกล้เคียงร้อยละ 0.50 (ไตรมาส 4 ปี 2553 มีจำนวน 1,591 คน)โดยผู้ว่างงานในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นชาย จำนวน 942 คน และหญิงมีจำนวน 437 คน
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 1 (มกราคม–มีนาคม) ปี 2555 นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 1,065 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 1,333 คน และการบรรจุงานจะมีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 27.79 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุดคือ มัธยมศึกษามีความต้องการ ร้อยละ 33.33 (355 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับปวช. และปวส. ร้อยละ 20.19 (215 อัตรา) และร้อยละ 17.56 (187 อัตรา) ตามลำดับ สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ร้อยละ 38.18 (113 คน) และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 31.08 (331 อัตรา)
ความต้องการแรงงานในจังหวัดยะลา ปี 2554 คาดประมาณว่าจะมีความต้องการแรงงานในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือสูงที่สุด คือ จำนวน 5,473 คน และรองลงมาคือแรงงานกึ่งฝีมือ 4,245 คน โดยแรงงานที่ต้องการส่วนใหญ่ต้องการระดับม.6 จำนวน 1,818 คน รองลงมาคือระดับปวช. จำนวน 1,161 คน อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรียนเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานสูงสุด สำหรับการเข้าออกงานลูกจ้างที่ออกจากงาน ปี 2544 มีจำนวน 1,691 คน สาเหตุส่วนใหญ่เพราะแทนคนเก่าที่ออกไป ส่วนลูกจ้างที่ลาออก ร้อยละ 62.66 เข้างานเนื่องจากมีตำแหน่งงานใหม่ ส่วนอาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุดในจังหวัดยะลาคืออาชีพการค้าส่ง ค้าปลีก ขาดแคลนจำนวน 636 คน (ร้อยละ 23.18) รองลงมาคืออาชีพโรงแรมภัตตาคารและร้านอาหาร จำนวน 424 คน (ร้อยละ 15.45) ระดับการศึกษาที่ขาดแคลนสูงสุดคือระดับ ต่ำกว่า ม.3 จำนวน 92 1,457 (ร้อยละ 53.10) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในจังหวัดพบว่ามีผู้สำเร็จระดับปริญญาตรีสูงสุดจำนวน 2,396 คน ปวส./อนุปริญญา และปวช. มีจำนวน 1,249 คน 1,818 คน ตามลำดับ
แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนมีนาคม 2555 มีจำนวน 104 คน แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 81 คน รองลงมาคือ แรงงานต่างด้าวประเภทมาตรา 12 (ยกเว้นมติ ครม.) จำนวน 21 คน ประเภทส่งเสริมการลงทุน จำนวน 2 คน ตามลำดับ โดยแรงงานต่างด้าวสัญชาติจีนมีมากที่สุด จำนวน 20 คน หรือ ร้อยละ 24.69 (ยกเว้นประเภทตลอดชีพ)
สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 174 คน จำแนกเป็นสัญชาติ พม่า ร้อยละ 95.98 (167 คน) ลาว 1 คน (ร้อยละ 0.57) และกัมพูชา 6 คน (ร้อยละ 3.45)
แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วงไตรมาส ที่ 1 ปี 2555 จังหวัดยะลาไม่มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ ส่วนวิธีการเดินทางพบว่า ไปโดยวิธี Re- Entry มีมากที่สุด จำนวน 11 คน หรือร้อยละ 84.62 และไปโดยเดินทางด้วยตนเอง มีจำนวน 2 คน หรือร้อยละ 15.38 และ ส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 10 คน หรือร้อยละ 99.91 และภูมิภาคอื่น ๆ จำนวน 1 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.09 ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน ในจังหวัดยะลาไตรมาสนี้มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานจำนวน 188 คน โดยกลุ่มอาชีพที่มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานสูงสุด คือ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 56 คน หรือร้อยละ 29.78 รองลงมา คือ ช่างเครื่องกล จำนวน 54 คน หรือร้อยละ 28.72
สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 461 คน โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด คือกลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 259 คน หรือร้อยละ 56.18 รองลงมา คือ กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 100 คน หรือร้อยละ 21.69 มาตรฐานฝีมือแรงงานมีการทดสอบทั้งสิ้น 179 คน โดยกลุ่มอาชีพที่มีการทดสอบมากที่สุด คือ ช่างเครื่องกล จำนวน 78 คน หรือร้อยละ 43.57 รองลงมาคือกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ จำนวน 60 คน หรือร้อยละ 33.52
การคุ้มครองแรงงาน จังหวัดยะลามีการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 99 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.50 จากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 4 ปี 2554 จำนวน 51 แห่ง) ไตรมาสนี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 1,566 คน ซึ่งสถานประกอบการที่เข้ารับการตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน มีจำนวน 53 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 53.54 ของสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจทั้งหมด โดยมีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 99แห่ง(ร้อยละ 100)
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 29 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 1,794 คน พบว่าสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 27 แห่ง หรือร้อยละ 93.10 ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 2 แห่ง หรือร้อยละ 6.90 โดยประเภทอุตสาหกรรมที่มีอัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องมากที่สุด ได้แก่ ประเภทการผลิต โรงแรมและภัตตาคาร คิดเป็นร้อยละ 6.67
การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2555 จังหวัดยะลามีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 53 คน โดยประเภทของความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานเกิน 3 วัน จำนวน 28 คน หรือร้อยละ 52.83 และหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 25 คน หรือร้อยละ 47.17 ตามลำดับ
การประกันสังคม ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2555 พบว่าจังหวัดยะลา มีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 1,470 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 19,493 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาลจำนวน 2 แห่ง ร้อยละ 9.84
กองทุนประกันสังคม ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2555 มีเงินกองทุน 343,344.75 บาท จำนวนผู้ใช้บริการมีจำนวน 67 คน หรือร้อยละ 0.29 ของผู้ประกันตนทั้งหมด ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีจำนวน 19,798 คน หรือร้อยละ 85.53 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด สำหรับปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน พบว่า การจ่ายเงินกรณีลงเคราะห์บุตรมีการจ่ายเงินสูงสุด ถึง 8,437,050 บาท หรือร้อยละ 36.37 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย