บทสรุปผู้บริหารบทสรุปผู้บริหาร
สภาพเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดยะลา ขึ้นอยู่กับสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ของใช่ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ เป็นสำคัญตามลำดับ
เศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดยะลา เดือนพฤศจิกายน 2555 ขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากปัจจัย ด้านอุปทาน ภาคการเกษตร ขยายตัว พิจารณาจากมูลค่าผลผลิตยางพาราเพิ่มสูงขึ้นสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณผลผลิตยางพาราที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคายางพารายังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง การผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว เป็นผลมาจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์จากยางพาราแปรรูปขั้นต้นของผู้ประกอบการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมยางพาราเพิ่มขึ้น ภาคการบริการและการท่องเที่ยว ขยายตัว จำนวนนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในอำเภอเบตงเพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากที่สุด ด้านอุปสงค์ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ขยายตัว พิจารณาจากยอดการจดทะเบียนรถใหม่ทุกประเภทที่เพิ่มขึ้น จากแรงกระตุ้นตามนโยบายคืนภาษีรถคันแรกของภาครัฐเป็นสำคัญ ด้านการค้าระหว่างประเทศ หดตัว เป็นผลมาจากการลดลงของมูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากยางพาราแปรรูปขั้นต้น การลงทุนภาคเอกชน หดตัว สะท้อนจากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล และจำนวนทุนจดทะเบียนใหม่มีจำนวนลดลง การใช้จ่ายภาครัฐ โดยรวม ขยายตัว เป็นผลมาจากมีการเบิกจ่ายงบประจำและงบลงทุนได้มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา ด้านการเงิน ปริมาณเงินฝาก ขยายตัว ตามนโยบายระดมเงินฝากธนาคารพาณิชย์ สอดรับกับปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภค ขยายตัว เงินเฟ้อของจังหวัดยะลาอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ การจ้างงาน ขยายตัว พิจารณาจากจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
การลงทุน
จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า การลงทุนปี 2555(มกราคม-ธันวาคม) จำนวนการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ทั้งสิ้นเฉลี่ยทั้ง 4 ไตรมาส จำนวน 25 แห่ง ทำให้มีเงินลงทุน 68.75 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่มีทุนจดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ การก่อสร้าง การผลิต และการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเงินลงทุนลดลง 3.64 ล้านบาทจึงแม้การจดทะเบียนจะมีอัตราที่เพิ่มขึ้น 17 แห่ง ก็ตาม
ประชากรและกำลังแรงงาน
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติจังหวัดยะลา พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปในปี 2555 (มกราคม-ธันวาคม) มีจำนวนทั้งสิ้น 379,887 คน พบว่า เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 269,689 คน โดยจำแนกเป็น ผู้มีงานทำจำนวน 266,746 คน คิดเป็นร้อยละ 98.91 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่ว่างงาน 2,943 คน หรือร้อยละ 1.09 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน และในปี 2555 ไมมีผู้ที่รอฤดูกาลเมื่อเปรียบเทียบผู้มีงานทำ ในปี 2554 เพิ่มขึ้น จากปีก่อน ร้อยละ 1.97 จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรม ยกเว้น การไฟฟ้า ก๊าช การประปา และอื่นๆโดยมีผู้มีงานทำในอาชีพผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรการล่าสัตว์ การป่าไม้และการประมง มากที่สุดจำนวน 183,547 คน รองลงมาเป็นการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน จำนวน 19,711 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 86,419 คน รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษามัธยมตอนต้น จำนวน 86,515คน
ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2555
ผลผลิต การบริหารจัดการด้านแรงงานเชิงบูรณาการสู่ประชาชนในพื้นที่/ชุมชน
1. กิจกรรม พัฒนาเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงาน
1.1 ประสานการให้บริการด้านแรงงานในพื้นที่โดยอาสาสมัครแรงงาน
1.2 บริหารจัดการเครือข่ายด้านแรงงาน (ค่าตอบแทนแกนนำ อสร. ตำบล)
1.3 โครงการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา อาสาสมัครแรงงานร่วมใจประสาน
1.4 โครงการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลด้านแรงงาน
1.5 โครงการเสริมสร้างศักยภาพอาสามัครแรงงาน
2. กิจกรรม การบริการจัดการด้านแรงงานเชิงบูรณาการประชาชนในพื้นที่/ชุมชน
2.1 พัฒนาระบบการบูรณาการ ส่งเสริมความร่วมมือและติดตามการบริหารจัดการด้านแรงงานในพื้นที่
2.2 กิจกรรมสนับสนุนการบรรจุแผนด้านแรงงานในพื้นที่ชุมชน
2.3 จัดทำแผนงานเชิงบูรณาการ ติดตามวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนของสำนักงานแรงงานจังหวัด
2.4 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ข้อมูล
2.5 โครงการศูนย์บริการประชาชนกระทรงแรงงาน
ผลผลิต ยุทธศาสตร์ แผน ข้อเสนอ และระบบการบริหารจัดการด้านแรงงาน
1.
กิจกรรมหลัก พัฒนายุทธศาสตร์ แผน และข้อเสนอแนะด้านแรงงาน
1.1
การประชุมคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
1.2 การสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือในภาคอุตสาหกรรมและผลกระทบของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด
1.3 การสำรวจสถานประกอบการเกี่ยวกับนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและการติดตามการบังคับใช้ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 22 สาขาอาชีพ
– โครงการจ้างงานเร่งด่วน
– โครงการจ้างบัณฑิตแรงงาน
ความต้องการแรงงาน
จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ความต้องการแรงงานในจังหวัดยะลา ปี 2554 (มกราคม-ธันวาคม) นายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงาน จำนวน 2,968 อัตรา ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด จำนวน 804 คน รองลงมาระดับ ปวช. จำนวน 607 คน ส่วนอาชีพที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 937 คน รองลงมาเป็นเสมียน เจ้าหน้าที่ 656 คน และอาชีพพื้นฐาน 517 คนอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานมากที่สุด ได้แก่ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจันยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน จำนวน 984 คน รองลงมาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้าและการคมนาคม จำนวน 514 คน
ผู้สมัครงาน
จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ผู้สมัครงานที่มาใช้บริการจัดหางาน จำนวน 5,443 คน จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 2,744 คน (ร้อยละ 50.41) รองลงมาเป็นผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,432 คน (ร้อยละ 26.31) ผู้สมัครงานส่วนใหญ่สมัครงานในตำแหน่งเสมียน เจ้าหน้าที่ 1,820 คน (ร้อยละ 33.44) รองลงมา พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้า และตลาด ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในจังหวัดยะลาเป็นอย่างมาก รองลงมาเป็นอาชีพพื้นฐาน
การบรรจุงาน
จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า ผู้สมัครที่ได้รับการบรรจุงานจำนวน 2,328 คน ตำแหน่งงานว่างที่ได้รับการบรรจุงานมากที่สุด คือ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน จำนวน 846 คน (ร้อยละ36.34) รองลงมาคือ การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม จำนวน 350 คน(ร้อยละ 15.03) และมีอายุระหว่าง 18-24 ปี 985 คน รองลงมามีอายุระหว่าง 25-29 ปี จำนวน 755 คน
การทำงานของคนต่างด้าว
จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา พบว่า จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปี 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 475 คน เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว จำนวน 369 คน ประเภทมาตรา 12 ยกเว้นมติครม.จำนวน 98 คน สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2549 เป็นแรงงานที่ประเทศไทยอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในประเทศ แรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับในจังหวัดยะลา ณ เดือนธันวาคมมีจำนวนทั้งสิ้น 2,136 คน หากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีสัดส่วนถึง 2,037 คน ขณะที่แรงงานกัมพูชา จำนวน 55 คน และลาวมีจำนวน 6 คนเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 29.48 (ปี 2554 จำนวน 3,029 คน)
การคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ
จากข้อมูลของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา พบว่า ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการและลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 308 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 24.70 (ปี 2554 จำนวน 247 แห่ง) ในปี 2555 นี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจจำนวน 4,675 คน ในส่วนผลการตรวจความปลอดภัยพบว่าสถานประกอบการทั้งหมดจำนวน 124 แห่ง มีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 122 แห่ง (ร้อยละ 98.39) และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 2 แห่ง (ร้อยละ 1.61)
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน
จากข้อมูลของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดยะลา พบว่า จังหวัดยะลาในปี 2555 มีผู้เข้ารับการฝึกเสริมทักษะฝีมือ จำนวน 422 คน เป็นกลุ่มอาชีพ3 ลำดับที่มีการฝึกเข้าทำงานมากที่สุดในจังหวัดยะลาซึ่งจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ช่างเครื่องกลจำนวน 138 คน ร้อยละ 32.70 ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์จำนวน 27 คน ร้อยละ 30.09 และช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 124 ร้อยละ 29.38 คน การฝึกระดับฝีมือแรงงาน มีผู้รับการฝึก จำนวน 2,093 คน เป็นกลุ่มอาชีพช่างเข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 3 ลำดับแรก คือ ธุรกิจและบริการ จำนวน 1,109 คน ร้อยละ 52.99 รองลงมาคือ ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 427 คน ร้อยละ 20.40 และ ช่างไฟฟ้า จำนวน 195 คน คน ร้อยละ 9.32 ด้านการทดสอบมาฐานฝีมือแรงงาน มีผู้รับการฝึก จำนวน 387 คน เป็นกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการจำนวน 169 คน ร้อยละ 43.67 รองลงมาคือช่างเครื่องกล จำนวน 142 คน ร้อยละ 36.69 และช่างก่อสร้าง จำนวน 76 คน ร้อยละ19.64
สถานการณ์การเลิกจ้าง
จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา พบว่า สถานประกอบกกิจการในจังหวัดยะลา ที่เลิกกิจการทั้งหมด 130 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (ปี 2554 จำนวน 30 แห่ง) ปี 2555 มีผู้ถูกเลิกจ้าง จำนวน 208 คน
การประกันสังคม
จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา พบว่า ด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัด มีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2554 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,477 แห่งลูกจ้าง 19,360 คนปัจจุบันจังหวัดยะลา มีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาลจำนวน 2 แห่ง
|
จำนวนการใช้บริการของกองทุนประกันสังคม พิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด 3 ลำดับ ในปีนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 20,267 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.37 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณีเจ็บป่วยมีจำนวน 1,682 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.17 กรณีว่างงาน มีจำนวน 683 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.92