Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์แรงงานจังหวัดยะลา ไตรมาส 1 ปี 2557 (มกราคม – มีนาคม 2557)

pll_content_description

 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน  ไตรมาส 1 (มกราคม – มีนาคม) ปี 2557  มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

  สภาพเศรษฐกิจจังหวัดยะลา

สำนักงานคลังจังหวัดยะลา รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2557
ว่าเศรษฐกิจจังหวัดมีสัญญาณขยายตัว ตามภาวะการณ์ผลิตด้านอุปทาน จาการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตรกรรรม และการผลิตภาคอุตสาหกรรม และด้านอุปสงค์ขยายตัว จากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน และการค้าชายแดน เสถียรภาพเศรษฐกิจของจังหวัดยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) มีสัญญาณขยายตัว  สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ขยายตัวร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตยางพาราขยายตัวร้อยละ 1.84 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยปริมาณฝนตกลดลง เกษตรกรกรีดยางได้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มสูงขึ้น การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา ขยายตัวร้อยละ 30.33 ตามปริมาณผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมของจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพาราขั้นต้นมีวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการจากคู่ค้าในต่างประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคบริการ หดตัวร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าท่องเที่ยวในจังหวัดลดลง ร้อยละ 13.43 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากผลกระทบของเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และในระยะหลังมีเหตุปาระเบิดเกิดขึ้นเป็นรายวัน สร้างความไม่มั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว บางส่วนจึงชะลอการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว

 

เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) โดยรวมขยายตัว จากเครื่องชี้ ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 21.83 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยการเบิกจ่ายงบประจำ ขยายตัวร้อยละ 25.92 และการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการ ขยายตัวร้อยละ 3.95 เนื่องจาการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเป็นตามแผนงานโครงการและกรอบระยะเวลาที่กำหนด
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 8.52 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากเครื่องชี้สินเชื่อเพื่อการลงทุนรวมที่ขยายตัว ธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ด้านการค้าชายแดนขยายตัว จากดัชนีการค้าชายแดนร้อยละ 5.05 โดยแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์จากยางพาราแปรรูปขั้นต้นสินค้าส่งออกที่สำคัญของจังหวัด ขยายตัวเป็นบวกมียอดการสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ (สินค้า) ที่มียอดการส่งออกในเดือนนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำยางข้น ยางแผนดิบ และเศษยางจากต้นยาง โดยมูลค่าการส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 9.55 ส่วนมูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ 48.17 ขณะที่ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัว ร้อยละ 8.88 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เป็นผลมาจากเครื่องชี้ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ลดลงร้อยละ 28.46 และ 10.07 ตามลำดับ เนื่องจากการเติบโตของตลาดรถในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
ที่ชะลอตัว รายได้ภาคครัวเรือนลดลง ส่งผลต่อความต้องการซื้อของประชาชน ด้านเครื่องชี้ภาษีมูลค่าเพิ่มปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.13 เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลง จากปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ประกอบกับรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวลดลง ทำให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้

 

 

สถานการณ์ด้านแรงงาน

 จังหวัดยะลามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา จำนวน 321,852 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน232,155 คน  ผู้มีงานทำ 227,819 คน ผู้ว่างงาน 4,336 คน ในไตรมาสนี้ไม่มีผู้รอฤดูกาล

 

การมีงานทำ  ผู้มีงานทำในจังหวัดยะลา จำนวน 227,819 ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 157,198 คน หรือร้อยละ 69.01 ทำงานนอกภาคเกษตร จำนวน 70,621 คน โดยทำงานในสาขาการขายส่ง ขายปลีก มากที่สุด จำนวน 25,178 คน หรือร้อยละ 35.66 รองลงมาคือกิจกรรมโรงแรมและอาหาร จำนวน 11,689 คน คิดเป็นร้อยละ 16.56 และการบริหารราชการและป้องกันประเทศ จำนวน 8,145 คน หรือร้อยละ 11.54

 

การว่างงาน  จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 4,336 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.87
โดยชายจะมีอัตราว่างงานสูงกว่าหญิงเล็กน้อย กล่าวคือ เพศชายร้อยละ 2.07 ขณะที่เพศหญิงร้อยละ 1.63 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้ลดลงกว่าไตรมาสที่แล้วที่มีอัตราว่างงานภาพรวมร้อยละ 2.08

 

การบริการจัดหางานในประเทศ  ในช่วงไตรมาสที่ 1 (มกราคม – มีนาคม) ปี 2557 สถานประกอบการ
ได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 454 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 1,298 คน และการบรรจุงานจะมีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 109.47 สาเหตุที่มีการบรรจุงานมากกว่าตำแหน่งงานว่างเนื่องจากมีงานบรรจุงานสระสมจากไตรมาสที่แล้ว

 

แรงงานต่างด้าว  ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนมีนาคม  2557 มีจำนวน 132 คน แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 103 คน รองลงมาคือ แรงงาน
ต่างด้าวประเภทมาตรา 12 (ยกเว้นมติ ครม.) จำนวน 28 คน และประเภทส่งเสริมกรลงทุน จำนวน 1 คน ตามลำดับ โดยแรงงานด่างด้าวที่มีมากที่สุด คือสัญชาติอื่นๆ จำนวน 35 คน หรือร้อยละ
33.66 (ยกเว้นประเภทตลอดชีพ)

สำหรับแรงงานด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว            3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา  เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 4,267 คน จำแนกเป็นสัญชาติ พม่า ร้อยละ 94.10 (4,015 คน) กัมพูชา 23 คน (ร้อยละ 5.50) และลาว 17 คน (ร้อยละ 0.40)

 

แรงงานไทยในต่างประเทศ  ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2557 จังหวัดยะลา มีผู้มาแจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศจำนวน 1 คน ระดับการศึกษาประถมศึกษา

ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 1 ปี 2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 32 คน และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า เดินทางไปโดยวิธี Re-Entry จำนวน 31 คน หรือร้อยละ 96.88 และเดินทางด้วยตนเอง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.13 และส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 23 คน  หรือร้อยละ 71.87 ภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 7 คน (หรือร้อยละ 21.88) และตะวันออกกลาง จำนวน 2 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.25 ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด

 

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  มีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 25 คน การฝึกอบรมจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2557 จึงยังไม่มีจำนวนผู้ผ่านการฝึก การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
จำนวน 828 คน และผ่านการฝึกทั้งหมด โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจและบริการ
จำนวน 579 คน ประเภทช่างอุตสาหกรรมศิลป์ มีผู้เข้าฝึก จำนวน 110 คน ช่างก่อสร้าง จำนวน 70 คน ช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 42 คน ช่างอุตสาหกรรม จำนวน 27 คน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมีการทดสอบ 320 คน และผ่านการฝึกทั้งหมดเช่นกัน ได้แก่ ประเภทธุรกิจและบริการ จำนวน 125 คน ช่างอุตสาหกรรม 106 คน ช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 83 คน และข่างก่อสร้าง จำนวน 6 คน

 

การคุ้มครองแรงงาน  จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 115 แห่ง  มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 2,610 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก ต่ำกว่า 10 คน ร้อยละ 46.96 
โดยไม่มีสถานประกอบการใดที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

 

การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 46 แห่ง  ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 1,130 คน พบว่าในไตรมาสนี้ไม่มีสถานประกอบการใดที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย

 

การประสบอันอันตราย/เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2557 จังหวัดยะลามีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 47 คน โดยประเภทของความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 29 คน หรือร้อยละ 61.70 และหยุดเกิน 3 วัน จำนวน 16 คน หรือร้อยละ 34.04 และตาย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.26 ไม่มีผู้สูญหาย หรือสูญเสียอวัยวะบางส่วน

 

การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบกิจการในจังหวัดยะลา ที่เลิกกิจการ มีจำนวน 11 แห่ง ลูกจ้าง
ถูกเลิกจ้าง 68 คน เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1-9 คน  จำนาวน 9 แห่ง  หรือร้อยละ 81.82 จำนวนลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 17 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00 และสถานประกอบการขนาด 10
+ จำนวน 2 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 18.18   ลูกจ้างถูกเลิกจ้างจำนวน 51 คน หรือร้อยละ 75.00 โดยประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด ได้แก่ ประเภทอื่นๆ จำนวน 6 แห่ง

 

การประกันสังคม ข้อมูล เดือนมีนาคม 2557 พบว่าจังหวัดยะลามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมจำนวน 1,469 แห่ง จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้างที่อยู่ในข่ายกองทุนเงินทดแทน
จำนวน 1,200 แห่ง ลูกจ้าง 13,402 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล
จำนวน 2 แห่

TOP