Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์แรงงานจังหวัดยะลา ไตรมาส 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2556

pll_content_description

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ไตรมาส 1 (มกราคม – มีนาคม) ปี 2556 มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจ
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านแรงงานของภาคใต้ ไตรมาส 1 ปี 2556
(มกราคม – มีนาคม 2556) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

กระทรวงพาณิชย์ มีการปรับปรุงน้ำหนักดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้จากปีฐาน 2550 เป็นปี 2554 จำนวนสินค้าและบริการที่ใช้คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 375 รายการเป็น 426 รายการ ซึ่งเริ่มคำนวณตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคใต้เดือนมกราคม 2556

โดยสรุป ดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการของภาคใต้ จำนวน 426 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ สรุปได้ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เดือนมกราคม 2556
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ เท่ากับ 100 และเดือนมกราคม 2556 เท่ากับ 105.03 (เดือนธันวาคม 2555 เท่ากับ 104.80)
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เดือนมกราคม 2556 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.22
2.2 เดือนมกราคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 3.13
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เดือนมกราคม 2556 เทียบกับ เดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.22 (เดือนธันวาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.51) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงาน โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.25 และหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.19 สำหรับสินค้าและบริการที่ปรับราคาสูงขึ้น ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ ไข่และผลิตภัณฑ์นม เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสำเร็จรูป หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า หมวดเคหสถาน หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ยานพาหนะ และค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์

 

สถานการณ์ด้านแรงงาน
ประชากรและกำลังคน จังหวัดยะลา มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา (ข้อมูลไตรมาส 1 ปี 2556 (มกราคม – มีนาคม)) มีจำนวน 383,833 คน ซึ่งเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 269,945 คน ผู้มีงานทำ 269,643 คน ผู้ว่างงาน 302 คน
อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรมหรือลักษณะของการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำในเชิงเศรษฐกิจ พบว่า มีผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรมมากกว่านอกภาคเกษตรกรรม คือ ร้อยละ 68.6 ทั้งนี้มีผู้งานทำนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ทำในสาขาอาชีพการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีจำนวน 27,062 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 โรงแรมและภัตตาคาร มีจำนวน 12,263 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ มีจำนวน 9,957 คน คิดเป็นร้อยละ 3.7 ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การศึกษา,การก่อสร้าง,การผลิต ,การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคมฯลฯ ซึ่งมีไม่มากนัก
สถานภาพการทำงาน ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 269,643 คนนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานผลการสำรวจครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานส่วนตัวมีจำนวน 104,846 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.9 รองลงมาคือช่วยธุรกิจครัวเรือน มีประมาณ 96,052 คน คิดเป็นร้อยละ 35.6 ลูกจ้างเอกชนมีประมาณ 44,188 คนคิดเป็นร้อยละ 16.4 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างรัฐบาลมีประมาณ 21,327 คน คิดเป็นร้อยละ 7.9สถานภาพการทำงานเป็นนายจ้างมีประมาณ 3,230 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2
การว่างงาน จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 302 คน หรือมีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.1 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 4 ปี 2555 มีจำนวนผู้ว่างงาน 4,048 คน หรือร้อยละ 1.48) และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้วพบว่า อัตราการว่างงานลดลงเท่ากับร้อยละ 0.42 (ไตรมาส 1 ปี 2555 มีจำนวนผู้ว่างงาน 1,378 คน หรือร้อยละ 00.52) โดยผู้ว่างงานไตรมาสนี้ทั้งหมดเป็นเพศชาย จำนวน 302 คน
ความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน จังหวัดยะลาไตรมาส 1 ปี 2556 (ตำแหน่งงานว่างที่นายจ้างแจ้งความต้องการ ได้แก่ ช่างฝีมือ (ช่างไฟฟ้า, ช่างยนต์, ช่างแอร์) กรรมกร แคชเชียร์ พนักงานขาย และเสมียน และในส่วนของการขาดแคลนแรงงานจังหวัดยะลา ในไตรมาสนี้ ได้แก่ กรรมกร ช่างฝีมือ (ช่างไฟฟ้า, ช่างยนต์, ช่างแอร์) พนักงานขับรถ (รถยก, รถ 6 ล้อ, รถ JCB, รถแบ็คโฮ) แรงงานทั่วไป (แรงงานด้านการผลิต) และหัวหน้างานก่อสร้าง (วิศวกร, โฟร์แมน QC)
แรงงานต่างด้าว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ เดือนมีนาคม 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 142 คน เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว จำนวน 113 คน (ร้อยละ 79.58) ประเภทมาตรา 12 ยกเว้นมติครม. จำนวน 27 คน (ร้อยละ 19.01) และประเภทส่งเสริมการลงทุน จำนวน 2 คน (ร้อยละ 1.41) สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นแรงงานที่จังหวัดยะลาอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดยะลาแรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับในปี 2556 ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2556 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบทะเบียนของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลามีจำนวนทั้งสิ้น 2,205 คนหากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีจำนวน 2,147 คนคิดเป็นร้อยละ 97.37 ขณะที่แรงงานสัญชาติกัมพูชามีจำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 2.36 และสัญชาติลาวมีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27
แรงงานไทยในต่างประเทศ แรงงานไทยที่ลงทะเบียนไปทำงานต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (มกราคม – มีนาคม 2556) จังหวัดยะลาไม่มีผู้แจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศ
ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 1 ปี 2556 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า ส่วนใหญ่ไปโดยวิธี Re-Entry มีจำนวนทั้งสิ้น 37 คน คิดเป็นร้อยละ 94.87 และวิธีเดินทางด้วยตนเอง มีจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.13 จากการสำรวจพบว่าแรงงานไทยโดยส่วนใหญ่แล้วจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศในส่วนภูมิภาคแถบเอเซีย จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 79.49 ตะวันออกกลาง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.82 และภูมิภาคอื่น ๆ จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน จังหวัดยะลามีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงานทั้งสิ้น จำนวน 79 คน ซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน พบว่า กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 46.84 (37 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 37.97 (30 คน) และช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 15.19 (12 คน)
ทั้งนี้ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาสที่ ปี 2556 ซึ่งจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่ามีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับและผู้ผ่านการฝึกยกระดับ 4 กลุ่มอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 566 คน ซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานแยกเป็นกลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ ร้อยละ 64.67 (366 คน) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 28.27 (160 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 3.53 (20 คน) และช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 3.53 (20 คน)
สำหรับ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 พบว่ามีผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสิ้นจำนวน 199 คนซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พบว่ากลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ ร้อยละ 50.25 (100 คน) ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 27.14 (54 คน) และช่างเครื่องกล ร้อยละ 22.61 (45 คน) ส่วนผู้ผ่านการทดสอบทั้งสิ้นจำนวน 168 คน ร้อยละ 84.42 จากผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมด ส่วนกลุ่มอาชีพที่เหลือ ไม่มีผู้เข้ารับการทดสอบ ( ช่างก่อสร้าง, ช่างอุตสาหกรรม, ช่างอุตสาหกรรมศิลป์, และเกษตรอุตสาหกรรม)
การคุ้มครองแรงงาน สำหรับในไตรมาส 1ปี 2556 (ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2556) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 89 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.99 จากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 4 ปี 2555 จำนวน 69 แห่ง) ไตรมาสนี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 1,887 คน จำแนกเป็นชาย 907 คน (ร้อยละ 48.07 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) หญิง 980 คน (ร้อยละ 51.93 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) ซึ่งสถานประกอบการที่เข้ารับการตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดต่ำกว่า 20 คนคิดเป็นร้อยละ 84.27 (75 แห่ง) ของสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจทั้งหมด รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด 20-499 คน คิดเป็นร้อยละ 15.73 (14 แห่ง)
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2556) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 24 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 1,454 คน โดยในไตรมาส 1 นี้ มีการตรวจสถานประกอบการลดลงจาก ไตรมาส 4 ร้อยละ 63.16 (ไตรมาส 4 ตรวจ 38 แห่ง) ขณะที่สัดส่วนของลูกจ้างที่ได้รับการดูแลคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยลดลง (ไตรมาส 4 ลูกจ้างผ่านการตรวจ 1,536 คน)

การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในรอบไตรมาส 1 ปี 2556 เดือน มกราคม – มีนาคม 2556 พบว่าการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน มีทั้งสิ้น 24 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยในสถานประกอบขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 20-49 และ50-99 คน รวมลูกจ้างทั้งสิ้น 12 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาคือขนาด 5-9 และ10-19 คน จำนวนละ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ตามลำดับขนาด 1-4 และ100-199 จำนวนละ 2 คน (ร้อยละ 16.67) และสถานประกอบการขนาด 1,000 คนขึ้นไป ไม่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
การเลิกจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา รายงานสถานะภาพการเลิกจ้าง ไตรมาส 1 ปี 2556 มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการจำนวน 8 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 28 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการที่มีขนาดตั้งแต่ 1-9 คน
การประกันสังคม ภารกิจด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลามีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2556 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,215 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน คือมีจำนวน 761 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.63 ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 12,826 คน
กองทุนประกันสังคมพิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการมีทั้งสิ้น 16,582 ราย สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 13,797 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.20 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณี เจ็บป่วย มีจำนวน 1,498 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.03
หากพิจารณาตามปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน จะพบว่ามีการจ่ายเงินทั้งสิ้น 45,641,887.07 บาท โดยกรณีกรณีเจ็บป่วยมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 20,196,737.14 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.25 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาคือกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 11,894,650 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.06 คลอดบุตร ชราภาพ ว่างงาน ตาย และกรณีทุพพลภาพ มีการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 7,597,346.50 บาท (ร้อยละ 16.65) 3,586,038.29 บาท (ร้อยละ 7.86) 1,452,682.75 บาท (ร้อยละ 3.18) 719,098.89 บาท (ร้อยละ 1.57) และ 195,333.50 บาท (ร้อยละ 0.43) ตามลำดับ

TOP