บทสรุปผู้บริหาร
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ไตรมาส 2 (เมษายน – มิถุนายน) ปี 2556 มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจ
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านแรงงานในจังหวัดยะลา ไตรมาส 2 ปี 2556 (เมษายน – มิถุนายน 2556) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพทางเศรษฐกิจ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา ร่วมกับสำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เดือน มิถุนายน 2556 โดยสรุป การประมวลผลดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ รายการสินค้าและบริการที่ใช้คำนวณมีจำนวน 450 รายการ สำหรับจังหวัดยะลา มีจำนวน 245 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมิถุนายน 2556
ในปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2556 เท่ากับ 105.31 เทียบกับเดือน พฤษภาคม 2556 เท่ากับ 105.15 สูงขึ้นร้อยละ 0.15 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.25 เทียบเฉลี่ย 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) 2556 กับระยะเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.70
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ เดือนมิถุนายน 2556
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ เท่ากับ 100 และเดือนมิถุนายน 2556 เท่ากับ 105.83 (เดือนพฤษภาคม 2556 เท่ากับ 105.55)2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนพฤษภาคม 2556 สูงขึ้นร้อยละ 0.27
2.2 เดือนมิถุนายน 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.36
2.3 เทียบเฉลี่ย 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน) ปี 2556 กับระยะเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.63
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เดือนมิถุนายน 2556
ในปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เท่ากับ 100 สำหรับเดือนมิถุนายน 2556 เท่ากับ 105.6 และเดือนพฤษภาคม 2556 เท่ากับ 105.1
การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เดือนมิถุนายน 2556 เมื่อเทียบกับ
– เดือนพฤษภาคม 2556 สูงขึ้นร้อยละ 0.5
– เดือนมิถุนายน 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.7
– เทียบเฉลี่ยช่วงระยะ 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน) 2556 กับระยะเดียวกันของปี 2555 สูงขึ้นร้อยละ 2.9
สถานการณ์ด้านแรงงาน
ลักษณะของกำลังแรงงาน จังหวัดยะลา มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา (ข้อมูลไตรมาส 2
ปี 2556 (เมษายน-มิถุนายน) มีจำนวน 385,797 คน ซึ่งเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 280,691 คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 105,106 คน คิดเป็นร้อยละ 27.2 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
การส่วนร่วมในกำลังแรงงาน สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด 280,691 แยกได้เป็น
– ผู้มีงานทำ 278,450 คน คิดเป็นร้อยละ 99.20 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน
– ผู้ว่างงาน ซึ่งหมายถึงผู้ไม่มีงานทำและพร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 2,241 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8
อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรมหรือลักษณะของการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำในเชิงเศรษฐกิจ พบว่า ผู้มีงานทำในสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง มีประมาณ 197,833 คน คิดเป็นร้อยละ 71.0 ของผู้มีงานทำ โดยสัดส่วนของชายสูงกว่าหญิง คิดเป็นร้อยละ 72.7 และ 69.0 ตามลำดับ รองลงมาคือผู้ประกอบอาชีพการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีจำนวน 27,953 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 โดยสัดส่วนของหญิงสูงกว่าชาย คิดเป็นร้อยละ 10.9 และ 9.3 โรงแรมและอาหาร มีจำนวน 12,714 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6 โดยสัดส่วนหญิงสูงกว่าชาย ร้อยละ 7.2 และ 2.5 การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ มีจำนวน 10,864 คน คิดเป็นร้อยละ 3.9 โดยสัดส่วนของชายสูงกว่าหญิง ร้อยละ 4.4 และ 3.3 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การศึกษา,การก่อสร้าง,การผลิต,การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม ฯลฯ
ซึ่งมีไม่มากนัก
สถานภาพการทำงาน ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 278,450 คนนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานผลการสำรวจครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานส่วนตัวมีจำนวน 107,903 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.8 โดยสัดส่วนของชายสูงกว่าหญิง คิดเป็นร้อยละ 45.8 และ 30.0 ตามลำดับ รองลงมาคือช่วยธุรกิจครัวเรือน มีประมาณ 99,351 คน คิดเป็นร้อยละ 35.7 โดยหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าชาย คิดเป็นร้อยละ 45.0 และ 28.1 ตามลำดับ ลูกจ้างเอกชนมีประมาณ 49,261 คน คิดเป็นร้อยละ 17.7 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างรัฐบาลมีประมาณ 19,477 คน คิดเป็นร้อยละ 7.0 และสถานภาพการทำงานเป็นนายจ้างมีประมาณ 2,458 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9
การว่างงาน ประชากรของจังหวัดยะลาที่ว่างงานทั้งสิ้น 2,241 คน ซึ่งผู้ว่างงานเป็นประชากรชาย คิดเป็นร้อยละ 69.66 และเป็นประชากรหญิง คิดเป็นร้อยละ 30.34 ของผู้ว่างงาน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 1 ปี 2556 มีจำนวนผู้ว่างงาน 302 คน หรือร้อยละ 86.52)
แรงงานต่างด้าว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ เดือนมิถุนายน 2556 มีจำนวนทั้งสิ้น 151 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว (มาตรา 9) จำนวน 122 คน ประเภทมาตรา 12 ยกเว้นมติ ครม. จำนวน 27 คน และประเภทส่งเสริมการลงทุน 2 คน
สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว
เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดยะลา แรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับในปี 2556 ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2556 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบทะเบียนของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา มีจำนวนทั้งสิ้น 93 คน หากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีจำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และในไตรมาสนี้ไม่มีแรงงานกัมพูชา และลาว
แรงงานไทยในต่างประเทศ แรงงานไทยที่ลงทะเบียนไปทำงานต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (เมษายน-มิถุนายน 2556) จังหวัดยะลาไม่มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ
ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 2 ปี 2556 พบว่ามีจำนวน
ทั้งสิ้น 33 คน และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า ส่วนใหญ่ไปโดยวิธี Re-Entry มีจำนวนทั้งสิ้น
33 คน หรือร้อยละ 100 และส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 22 คน หรือร้อยละ 66.67 และภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 3 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.09
และภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 8 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 24.24 ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน
– การฝึกเตรียมเข้าทำงานในจังหวัดยะลา จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาส 2 ปี 2556 พบว่ามีผู้เข้ารับการฝึกทั้งสิ้น 79 คน พิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่ฝึกพบว่ามีการฝึก 4 กลุ่มอาชีพ คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 46.84 (37 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 25.32 (20คน) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 15.19 (12 คน) และช่างอุตสาหการ ร้อยละ 12.66 (10 คน)
ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 89.87 ของผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือทั้งหมดทั้งหมด โดยผลการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์
ร้อยละ 46.48 (33 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 28.17 (20 คน) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 11.27 (8 คน) และ ช่างอุตสาหการ ร้อยละ 14.08 (10 คน)
– การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลา จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาสที่ 2 ปี 2556
พบว่ามีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือ จำนวน 762 คน ซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานแยกเป็นกลุ่มอาชีพ ได้แก่ ธุรกิจและบริการ ร้อยละ 94.76 (722 คน) ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 2.62 (20 คน) และช่างเครื่องกล ร้อยละ 2.62 (20 คน)
ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการฝึกยกระดับฝีมือ จำนวน 761 คน คิดเป็นร้อยละ 99.87 ของผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือทั้งหมด โดยผลการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน คือ ธุรกิจและบริการ ร้อยละ 94.74 (721 คน) ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 2.63 (20 คน) และช่างเครื่องกล ร้อยละ 2.63 (20 คน)
– การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลา จำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาส 2 ปี 2556
พบว่ามีผู้เข้ารับการทดสอบ จำนวน 74 คน ซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึก ได้แก่ ธุรกิจ
และบริการ จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 81.08 และช่างเครื่องกล จำนวน 14 คน คิดเป็น 18.92
ของผู้เข้ารับการทดสอบ
ทั้งนี้ มีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 86.49 ของผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมด โดยผลการทดสอบ คือ ธุรกิจและบริการ ร้อยละ 78.13 (50 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 21.88 (14 คน)
การคุ้มครองแรงงาน สำหรับในไตรมาส 2 ปี 2556 (ช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2556) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 89 แห่ง
มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจหรือได้รับการคุ้มครอง รวม 1,458 คน จำแนกเป็นชาย 825 คน (ร้อยละ 56.58
ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) และหญิง 633 คน (ร้อยละ 43.42) ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน คิดเป็นร้อยละ 31.46 (28 แห่ง) รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด
10-19 คน คิดเป็นร้อยละ 26.97 (24 แห่ง) สถานประกอบการขนาด 5-9 คน คิดเป็นร้อยละ 21.35 (19 แห่ง) สถานประกอบการขนาด 50-99 คน คิดเป็น ร้อยละ 5.62 (5 แห่ง)และสถานประกอบการขนาด 100-299 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.37 (3 แห่ง)
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2556 (ช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2556) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 32 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 851 คน โดยในไตรมาส 2 นี้ มีการตรวจสถานประกอบการเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 1 ร้อยละ 33.33 (ไตรมาส 1 ตรวจ 24 แห่ง) ขณะที่สัดส่วนของลูกจ้างที่ได้รับการดูแลคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยลดลงร้อยละ 41.44 (ไตรมาส 1 ลูกจ้างผ่านการตรวจ 1,454 คน)
การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในรอบไตรมาส 2 ปี 2556 เดือนเมษายน– มิถุนายน 2556
พบว่าการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน มีทั้งสิ้น 51 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยในสถานประกอบขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 50-99 และ 100-199 คน มีจำนวนละ
20 คน คิดเป็นร้อยละ 39.22 รองลงมาคือขนาด 200-499 จำนวน 8 คน (ร้อยละ 15.69) ขนาด 10 -19 คน จำนวน 7 คน (ร้อยละ 13.73) ขนาด 20-49 และ ขนาด 500-999 จำนวนละ 10 คน (ร้อยละ 19.60) ขนาด 1-4 และขนาด 5-9 คน มีจำนวนละ 3 คน (ร้อยละ 5.88) และสถานประกอบการขนาด 1,000 คนขึ้นไป ไม่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
การเลิกจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา รายงานสถานภาพการเลิกจ้าง ไตรมาส 2
ปี 2556 มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการจำนวน 8 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 23 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดตั้งแต่ 1-9 คน
การประกันสังคม ภารกิจด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลามีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2556 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,229 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน คือมีจำนวน 774 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.98
ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 13,092 คน และมีสถานพยาบาล ในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง
ในช่วงไตรมาส 2 ปี 25565 (เมษายน – มิถุนายน 2556) จำนวนการใช้บริการของกองทุนประกันสังคมพิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการมีทั้งสิ้น 25,584 ราย สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 22,864 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.36 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณี เจ็บป่วย มีจำนวน 1,307 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.11 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด หากพิจารณาตามปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน จะพบว่ามีการจ่ายเงินทั้งสิ้น 24,562,758.87 บาท โดยกรณีคลอดบุตร มีการจ่ายเงินสูงสุด ถึง 8,918,834 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.31 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาคือกรณี สงเคราะห์บุตร จ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 8,871,250 บาท (ร้อยละ 36.12) กรณีชราภาพ 3,273,159.47 บาท (ร้อยละ 13.33) ว่างงาน 1,556,077.45 บาท (ร้อยละ 6.34) ตาย 916,267.45 บาท (ร้อยละ 3.73) เจ็บป่วย 800,325.50 บาท (ร้อยละ 3.26) และกรณีทุพพลภาพ 226,845 ล้านบาท (ร้อยละ 0.92) ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เจ็บป่วย จำนวน 1,307 ราย 800,325.50 บาท
2. คลอดบุตร จำนวน 631 ราย 8,918,834.00 บาท
3. ทุพพลภาพ จำนวน 39 ราย 226,845.00 บาท
4. ตาย จำนวน 45 ราย 916,267.45 บาท
5. สงเคราะห์บุตร จำนวน 22,864 ราย 8,871,250.00 บาท
6. ชราภาพ จำนวน 137 ราย 3,273,159.47 บาท
7. ว่างงาน จำนวน 561 ราย 1,556,077.45 บาท
รวม จำนวน 25,584 ราย 24,562,758.87 บาท