Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์แรงงานจังหวัดยะลา ไตรมาส 3 (กรกฎาคม – กันยายน) ปี 2557

pll_content_description

 

บทสรุปผู้บริหาร

 

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน  ไตรมาส 3 (กรกฎาคม – กันยายน) ปี 2557  มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 

สำนักงานคลังจังหวัดยะลา รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดยะลา ประจำเดือนสิงหาคม 2557
ว่าเศรษฐกิจจังหวัดมีสัญญาณหดตัวจากด้านอุปทาน เป็นผลมาจากการหดตัวของการผลิตภาคเกษตรกรรม การผลิตภาคบริการ และการผลิตภาคอุตสาหกรรม และด้านอุปสงค์ ตามการหดตัวของการค้าชายแดน และการใช้จ่ายภาครัฐ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อของจังหวัดยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม ขณะที่รายได้เกษตรกรในจังหวัดยะลาอยู่ในภาวะชะลอตัว

เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) มีสัญญาณหดตัว สะท้อนจากดัชนี ผลผลิตภาคเกษตรกรรม
ในเดือนสิงหาคม
2557 หดตัวร้อยละ 15.24 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกมากขึ้น ทาให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้เต็มที่ ประกอบกับเกษตรกรขาดแรงจูงใจในการกรีดยางพารา เนื่องจากราคาที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดในเดือนนี้ลดลงร้อยละ 15.26 การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.57 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา หดตัวร้อยละ 29.57 เนื่องจากอุปสงค์การผลิตรถยนต์เพื่อขายในประเทศ และการส่งออกที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการจึงพยายามระบายสต็อกและยังไม่เพิ่มระดับการผลิต ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปขั้นต้น ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัดลดลงตามไปด้วย ด้านภาคบริการหดตัว โดยดัชนีภาคบริการหดตัวร้อยละ 36.37 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดลดลงร้อยละ 45.36 เนื่องจากเกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์บริเวณหน้าโรงแรมฮอลิเดย์ ฮิลล์ (ฟูทูน่า) อำเภอเมืองเบตง ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2557 ทำให้นักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอเบตง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดเหตุการณ์หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพยายามเร่งฟื้นฟู และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของอำเภอเบตงให้กลับสู่ภาวะปกติ

เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) โดยรวมหดตัว จากเครื่องชี้ดัชนีการค้าชายแดนหดตัวร้อยละ 28.78 จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในแถบเอเชียที่ยังอ่อนแอ ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูปขั้นต้นซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของจังหวัดมีจำนวนลดลง โดยมูลค่าการส่งออกรวมหดตัวร้อยละ 26.69 และมูลค่าการนำเข้ารวมหดตัวร้อยละ 78.44 ดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐบาล หดตัวร้อยละ 19.75 เป็นผลมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนหดตัว ร้อยละ 24.35 และการเบิกจ่ายงบประจำหดตัวร้อยละ 18.98 เนื่องจากฐานการเบิกจ่ายในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาสูง จากการเบิกจ่ายเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ประกอบกับบางส่วนราชการกาลังอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเร่งเบิกจ่ายให้ทันภายในเดือนกันยายน ส่งผลให้ยอดการเบิกจ่ายลดลง อย่างไรก็ตามทางกรมบัญชีกลางได้มีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินโดยการ ผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสามารถเบิกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วขึ้น ขณะที่ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 1.37 สะท้อนผ่านเครื่องชี้ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขยายตัวร้อยละ 6.93 เนื่องจากสถานการณ์การเมืองเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนกาลังซื้อ อาทิ การตรึงราคาก๊าช LPG และน้ำมันดีเซล รวมทั้งการคงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% ส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.19 จากการขยายตัวของเครื่องชี้พื้นที่อนุญาตก่อสร้าง และจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อเพื่อการลงทุนรวมชะลอตัวลงเล็กน้อย

็็

 

สถานการณ์ด้านแรงงาน

จังหวัดยะลามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา จำนวน 323,181 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน225,194 คน  ผู้มีงานทำ 220,069 คน ผู้ว่างงาน 5,125คน ในไตรมาสนี้ไม่มีผู้รอฤดูกาล

 

การมีงานทำ ผู้มีงานทำในจังหวัดยะลา จำนวน 220,069 คน ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 151,183 คน หรือร้อยละ 68.70 ทำงานนอกภาคเกษตร จำนวน 68,860 คน โดยทำงานในสาขาการขายส่ง ขายปลีก มากที่สุด จำนวน 22,755 คน หรือร้อยละ 33.05 รองลงมาคือกิจกรรมโรงแรมและอาหาร จำนวน 12,422 คน คิดเป็นร้อยละ 18.04 และการศึกษา จำนวน 9,380 คน หรือร้อยละ 13.62

 

การว่างงาน  จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 5,125 คน หรือมีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.28
โดยชายจะมีอัตราว่างงานสูงกว่าหญิงมาก กล่าวคือ เพศชายร้อยละ 1.42 ขณะที่เพศหญิงร้อยละ 0.85
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้วที่มีอัตราว่างงานภาพรวมร้อยละ 1.59

 

การบริการจัดหางานในประเทศ  ในช่วงไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน) ปี 2557 สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 621 อัตรา โดยมีผู้สมัครงาน 1,352 คน และการบรรจุงานจะมีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 66.67

 

แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน ข้อมูลเดือนกันยายน  2557 มีจำนวน 158 คน แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทชั่วคราว จำนวน 119 คน รองลงมาคือ แรงงาน
ต่างด้าวประเภทมาตรา 12 (ยกเว้นมติ ครม.) จำนวน 38 คน และประเภทส่งเสริมกรลงทุน จำนวน 1 คน ตามลำดับ โดยแรงงานต่างด้าวที่มีมากที่สุด คือสัญชาติฟิลิปปินส์ จำนวน 33 คน หรือร้อยละ 27.50 (ยกเว้นประเภทตลอดชีพ)

สำหรับแรงงานด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2556 เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา  เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดมีจำนวนทั้งสิ้น 7,515 คน จำแนกเป็นสัญชาติ พม่า 6,879 คน (ร้อยละ 91.54) กัมพูชา 529 คน (ร้อยละ 7.04) และลาว 107 คน (ร้อยละ 1.42)

 

ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 3 ปี 2557 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 22 คน และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า เดินทางไปโดยวิธี Re-Entry ทั้งหมด หรือร้อยละ 100 และส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 10 คน  หรือร้อยละ 45.45ตะวันออกกลาง จำนวน 9 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 40.91 และภูมิภาคอื่นๆ จำนวน 3 คน (หรือร้อยละ 13.64) ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศทั้งหมด

 

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  มีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 25 คน ผ่านการฝึกทั้งสิ้น
การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 712 คน และผ่านการฝึกทั้งหมด โดยกลุ่มอาชีพที่ฝึกยกระดับฝีมือสูงสุด
ได้แก่ ธุรกิจและบริการ จำนวน 372 คน ประเภทช่างอุตสาหกรรมศิลป์ มีผู้เข้าฝึก จำนวน 265 คน ช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 52 คน ช่างก่อสร้าง จำนวน 23 คน และการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานมีการทดสอบ 122 คน และผ่านการทดสอบทั้งหมดเช่นกัน ได้แก่ ประเภทอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 65 คน ช่างเครื่องกล 32 คน และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 25 คน

 

การคุ้มครองแรงงาน  จากการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 100 แห่ง  มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 1,016 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1-4 คน ร้อยละ 58
โดยไม่มีสถานประกอบการใดที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

 

การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 38 แห่ง  ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 851 คน พบว่าในไตรมาสนี้ไม่มีสถานประกอบการใดที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมายความปลอดภัย

 

การประสบอันอันตราย/เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2557 จังหวัดยะลามีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำนวน 48 คน โดยประเภทของความร้ายแรง พบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 32 คน หรือร้อยละ 66.67 และหยุดเกิน 3 วัน จำนวน 15 คน หรือร้อยละ 31.25 ตาย จำนวน 1 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.08 และในไตรมาสไม่มีผู้สูญหาย หรือสูญเสียอวัยวะบางส่วน

 

การเลิกจ้างแรงงาน สถานประกอบกิจการในจังหวัดยะลา ที่เลิกกิจการ มีจำนวน 7 แห่ง ลูกจ้าง
ถูกเลิกจ้าง 42 คน เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก 1-9 คน จำนวน 6 แห่ง หรือร้อยละ 85.71 จำนวนลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 17 คน คิดเป็นร้อยละ 40.48 ขนาด 10 คนขึ้นไป จำนวน 1 แห่ง หรือร้อยละ 14.29 และจำนวนลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 25 คน คิดเป็นร้อยละ 59.52 โดยประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด ได้แก่ ร้านขายอาหาร โรงแรม ห้องเช่า จำนวน 3 แห่ง ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง จำนวน 28 คน ร้านสินค้าเบ็ดเตล็ด 3 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 6 คนและการค้าอื่นๆ จำนวน 1 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 8 คน

 

การประกันสังคม ข้อมูล เดือนกันยายน 2557 พบว่าจังหวัดยะลามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมจำนวน 1,464 แห่ง จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้างที่อยู่ในข่ายกองทุนเงินทดแทน
จำนวน 1,273 แห่ง ลูกจ้าง 13,655 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง

 

TTTTTTTTTTTT

TOP