Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดยะลา

สถานการณ์แรงงาน ไตรมาสที่ 3 (ตุลาคม-ธันวาคม) 2555

pll_content_description

 บทสรุปผู้บริหาร

 

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน  ไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2555  มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 
  กล่องข้อความ: สภาพเศรษฐกิจ

 

 

 

 

 

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านแรงงานในจังหวัดยะลา ไตรมาส 3 ปี 2555       (กรกฎาคม-กันยายน 2555) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

สภาพทางเศรษฐกิจ

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา ร่วมกับสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เดือน กันยายน 2555 โดยสรุปการประมวลผลดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศ รายการสินค้าและบริการที่ใช้คำนวณมีจำนวน 417 รายการ สำหรับจังหวัดยะลา มี 240 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มเครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ        การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์        เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา ได้ผลดังนี้

   ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกันยายน 2555

             ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2555 เท่ากับ 116.67 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2555 เท่ากับ 116.28 สูงขึ้นร้อยละ 0.34 เทียบกับเดือนกันยายน2554 สูงขึ้นร้อยละ 3.38 เทียบเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) ปี 2555 กับระยะเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 2.94

   ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาเดือนกันยายน 2555

ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เท่ากับ 100 สำหรับเดือนกันยายน 2555 เท่ากับ 125.2 และเดือนสิงหาคม 2555 เท่ากับ 124.9

    การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลา เดือนกันยายน 2555 เมื่อเทียบกับ
                    – เดือนสิงหาคม 2555 สูงขึ้นร้อยละ 0.2

                   – เดือนกันยายน 2554 สูงขึ้นร้อยละ 4.2

          – เทียบเฉลี่ย 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) 2555 กับระยะเดียวกันของปี 2554 สูงขึ้น
ร้อยละ 2.3

 
  กล่องข้อความ: สถานการณ์ด้านแรงงาน<br />

 

 

 

ประชากรและกำลังคน จังหวัดยะลา มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา (ข้อมูลไตรมาส 2        ปี 2555 (เมษายน-มิถุนายน)) มีจำนวน 379,889 คน ซึ่งเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 267,940 คน ผู้มีงานทำ 264,267 คน    ผู้ว่างงาน 3,673 คน

อุตสาหกรรม  เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรมหรือลักษณะของการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำในเชิงเศรษฐกิจ พบว่า มีผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรมมากกว่านอกภาคเกษตรกรรม คือ ร้อยละ 69.2 และ 30.8 ตามลำดับ  ทั้งนี้มีผู้งานทำนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ทำในสาขาอาชีพการขายส่ง  การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีจำนวน  29,177  คน คิดเป็นร้อยละ 11.0    โรงแรมและภัตตาคาร  มีจำนวน  11,791 คน  คิดเป็นร้อยละ 4.5 การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ  มีจำนวน 11,676 คน คิดเป็นร้อยละ 4.4 ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ  เช่น การศึกษา,การก่อสร้าง,การผลิต ,การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม ฯลฯ ซึ่งมีไม่มากนัก

สถานภาพการทำงาน  ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 264,267  คนนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานผลการสำรวจครั้งนี้  พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานส่วนตัวมีจำนวน 97,621 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 36.9       รองลงมาคือช่วยธุรกิจครัวเรือน  มีประมาณ 89,249 คน  คิดเป็นร้อยละ 33.8 ลูกจ้างเอกชนมีประมาณ 51,080 คนคิดเป็นร้อยละ 19.3 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างรัฐบาลมีประมาณ 20,572 คน     คิดเป็นร้อยละ 7.8  สถานภาพการทำงานเป็นนายจ้างมีประมาณ  5,749  คน คิดเป็นร้อยละ 1.5

          การว่างงาน จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 3,673 คน หรือมีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 1 ปี 2555 มีจำนวนผู้ว่างงาน 1,108 คน หรือร้อยละ 0.4) และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว พบว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 1.1 (ไตรมาส 2 ปี 2554 มีจำนวน          ผู้ว่างงาน 890 คน หรือร้อยละ 0.3) โดยผู้ว่างงานไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นชาย จำนวน 2,499 คน และหญิง     จำนวน 1,174 คน

          การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2555 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) นายจ้าง/   สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 626 อัตรา ลดลงร้อยละ 19.43 จากไตรมาสที่ผ่านมา          (ไตรมาส 2 ปี 2555 จำนวน 777 อัตรา) โดยมีผู้สมัครงาน 1,332 คน และการบรรจุงาน จำนวน 986 คน      มีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 157.51  ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด คือ        ระดับปวช.มีความต้องการ ร้อยละ 23.32 (146 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาและปวส. คือ ร้อยละ 23.16 (145 อัตรา) และร้อยละ 19.97 (125 อัตรา) ตามลำดับ  สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ พนักงานบริการ  พนักงานขายในในร้านค้าและตลาด  ร้อยละ 37.86 (237 คน) รองลงมา เสมียน  เจ้าหน้าที่ ร้อยละ 28.91 (145 คน) และอุตสาหกรรม  ที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ การขายส่งและการขายปลีก      การซ่อมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 34.66 (217 อัตรา) รอลงมาคือที่พักแรมและบริการด้านอาหาร     ร้อยละ 16.77 (105 อัตรา)

ความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน จังหวัดยะลาไตรมาส 3 ปี 2555 (ตำแหน่งงานว่างที่นายจ้างแจ้งความต้องการ ได้แก่ ช่างฝีมืองานก่อสร้าง  พนักงานขาย แรงงานทั่วไป  พนักงานขับรถยนต์,รถยก fork-lift             รถแทรกเตอร์,รถบดอัดถนน พนักงานจัดเรียงสินค้า พนักงานเสริฟ พนักงานบัญชี ช่างยนต์ ผู้ควบคุมงาน และ        ช่างไฟฟ้า และในส่วนของการขาดแคลนแรงงานจังหวัดยะลา ในไตรมาสนี้ ได้แก่ ช่างฝีมืองานก่อสร้าง         แรงงานทั่วไป  พนักงานขับรถยก fork-lift รถแทรกเตอร์,รถบดอัดถนน ช่างยนต์,ช่างช่วงล่าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง แม่บ้าน ดีเจ ผู้จัดการ/กัปตันงานโรงแรม ช่างโรงพิมพ์ (ช่างพิมพ์,พับ.ตัด) และช่างกลโรงงาน

 

 

 

 

 

          แรงงานต่างด้าว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ เดือนกันยายน  2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 127 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว (มาตรา 9)

          สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2555 เป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดยะลา แรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับในปี 2555 ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2555 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบทะเบียนของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลา มีจำนวนทั้งสิ้น 2,425 คน หากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีจำนวน 2,249 คน คิดเป็นร้อยละ 92.74 ขณะที่แรงงานกัมพูชา มี 158 คน คิดเป็นร้อยละ 6.52 และลาวมีสัดส่วนร้อยละ 0.74 (18 คน)

          แรงงานไทยในต่างประเทศ แรงงานไทยที่ลงทะเบียนไปทำงานต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) จังหวัดยะลาไม่มีผู้แจ้งความประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ 

ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 3 ปี 2555 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 14 ราย และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า ส่วนใหญ่ไปโดยวิธี Re-Entry มีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน หรือร้อยละ 100 และส่วนภูมิภาคที่แรงงานไทยไปทำงานส่วนใหญ่จะกระจุกตัวที่ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 9 คน    หรือร้อยละ 64.29 และภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 5 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.71 ของแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ

การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  ในจังหวัดยะลาการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในไตรมาส 3 ปี 2555 พบว่า        มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 870  คน พิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่ฝึกพบว่ามีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน       5 กลุ่ม คือ อาชีพธุรกิจและบริการ ร้อยละ 66.7 (580 คน) ช่างเครื่องกล ร้อยละ 13.2 (115 คน)              ช่างอุตสาหการ ร้อยละ 10.3 (90 คน) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 6.3 (55 คน) และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 3.5 (30 คน)

ทั้งนี้ ผู้ผ่านการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน มีจำนวน 870 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการฝึกยกระดับทั้งหมด โดยผลการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน คือ กลุ่มอาชีพธุรกิจและบริการ ร้อยละ 66.7 (580 คน)    ช่างเครื่องกล ร้อยละ 13.2 (115 คน) ช่างอุตสาหการ ร้อยละ 10.3 (90 คน) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 6.3 (55 คน) และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 3.5 (30 คน)

สำหรับผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงานและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในไตรมาสนี้ไม่มีการเข้ารับการฝึกและการทดสอบฝีมือแรงงาน

          การคุ้มครองแรงงาน สำหรับในไตรมาส 3 ปี 2555 (ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 82 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจหรือได้รับการคุ้มครอง รวม 445 คน จำแนกเป็นชาย 229 คน (ร้อยละ 51.46 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) และหญิง 216 คน (ร้อยละ 48.54)ซึ่งสถานประกอบการที่ตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด 1-4 คน คิดเป็นร้อยละ 62.19  (51 แห่ง) รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด 5-9 คน คิดเป็นร้อยละ 29.27 (24 แห่ง) สถานประกอบการขนาด 10-49 คน คิดเป็นร้อยละ 7.32(6 แห่ง) และสถานประกอบการขนาด       50-99 คน คิดเป็น ร้อยละ 1.22 (1 แห่ง)

 

 

 

          การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 (ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 29 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 273 คน โดยในไตรมาส 3 นี้ มีการตรวจสถานประกอบการเพิ่มขึ้นจาก        ไตรมาส 2 ร้อยละ 3.4 (ไตรมาส 2 ตรวจ 28 แห่ง) ขณะที่สัดส่วนของลูกจ้างที่ได้รับการดูแลคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยลดลงร้อยละ 72.4 (ไตรมาส 2 ลูกจ้างผ่านการตรวจ 989 คน)

          การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในรอบไตรมาส 3 ปี 2555 เดือนกรกฎาคม-กันยายน  2555 พบว่าการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน  มีทั้งสิ้น 53 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยในสถานประกอบการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 20-49 คน และ 200-499 คน โดยมีจำนวนขนาดละ 11 คน รองลงมาคือขนาด 100-199 จำนวน 10 คน ส่วนสถานประกอบการขนาด 1-4, 5-9, 10-19,50-99,500-999 คน มีจำนวน 1,4,5,9, และ 2 คน ตามลำดับ และสถานประกอบการขนาด 1,000 คนขึ้นไป ไม่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

          การเลิกจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา  รายงานสถานการณ์เลิกจ้าง ไตรมาส 3          ปี 2555 มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการจำนวน 111 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 119 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่     ผ่านมา (ไตรมาส 2 ปี 2555 จำนวน 4 แห่ง)

          การประกันสังคม ภารกิจด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา มีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ข้อมูลเดือนกันยายน 2555 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,197 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 12,184 คน และมีสถานพยาบาล ในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 2 แห่ง

กองทุนประกันสังคมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2555 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) จำนวนการใช้บริการของกองทุนประกันสังคม พิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร       ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ผู้ใช้บริการกองทุนประกันสังคมประเภทประโยชน์ทดแทนทั้งสิ้น 23,535 คน ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 จากไตรมาสที่แล้วที่มี               จำนวน 23,140 คน สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่            กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ จำนวน 20,419 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.76 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณีเจ็บป่วย ว่างงาน คลอดบุตร ชราภาพ ทุพพลภาพ และตาย  โดยมีสัดส่วนร้อยละ 7.15 , 2.67 2.61 , 0.44 , 0.21 และ 0.16 ตามลำดับ

หากพิจารณาตามปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน จะพบว่ามีการจ่ายเงินทั้งสิ้น 23,539,896.08 บาท โดยกรณีสงเคราะห์บุตรมีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 8,766,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.24 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาคือ กรณีคลอดบุตร จ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 8,458,584  บาท (ร้อยละ 35.93) และ            กรณีชราภาพ 2,050,100.20 บาท (ร้อยละ 8.71) โดยมีรายละเอียดดังนี้


1.     

เจ็บป่วย               จำนวน           1,683  ราย                        2,047,369.85  บาท


2.     

คลอดบุตร             จำนวน              614  ราย                        8,458,584.00  บาท


3.     

ทุพพลภาพ            จำนวน                49  ราย                          202,368.50  บาท


4.     

ตาย                             จำนวน                 38  ราย                           592          ,900.85  บาท


5.     

สงเคราะห์บุตร        จำนวน           20,419 ราย                        8,766,300.00  บาท


6.     

ชราภาพ               จำนวน               103  ราย                       2,050,100.68  บาท


7.     

ว่างงาน                จำนวน               629  ราย                       1,422,272.20  บาท

รวม                   จำนวน           23,535  ราย                     23,539,896.08  บาท



 

       
 

 

โครงสร้างกำลังแรงงานจังหวัดยะลา (ไตรมาส 3 ปี 2555)

 

 

 

 

ข้อมูลด้านแรงงานจังหวัดยะลา  ไตรมาส 3 ปี 2555

 

 

 

 

 


แรงงานนอกระบบ คือ แรงงานนอกสถานประกอบการ ได้แก่ ลูกจ้างภาคเกษตร      ทุกสาขา ผู้รับจ้างทั่วไป ลูกจ้างตามฤดูกาล ผู้มีอาชีพส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ และผู้รับงานไปที่ทำที่บ้าน เป็นต้น

-จำนวนผู้ประกันตน (แรงงานนอกระบบ) ม.40  จำนวน  6,975  คน

จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้าง (ผู้ประกันตน มาตรา 3 และ 39)

– สถานประกอบการ    จำนวน      1,197  แห่ง

– ผู้ประกันตน            จำนวน    12,184  คน

การจัดหางานของรัฐ

– นายจ้าง/สปก. แจ้งตำแหน่งงานว่าง           จำนวน    626  อัตรา

– มีผู้สมัครงาน                                       จำนวน 1,332  คน

– มีการบรรจุงาน                                     จำนวน    986  คน

แรงงานไทยที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศ      จำแนกตามระดับการศึกษา

-ประถมศึกษา                                        จำนวน    –    คน

– มัธยมศึกษา                                         จำนวน    –    คน

– ปวช./ปวส./อนุปริญญา                           จำนวน    –    คน

– ปริญญาตรีขึ้นไป                                   จำนวน    –    คน

แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ

– แจ้งความประสงค์ไว้                              จำนวน    –    คน

– ประเภทต่ออายุสัญญา (Re-Entry)             จำนวน   14  คน

– เดินทางด้วยตนเอง                                จำนวน     –    คน

แรงงานต่างด้าว

– จำนวนแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ในงานทะเบียน  จำนวน   2,552  คน

1. ถูกกฎหมาย                                        จำนวน      127  คน

2. ได้รับอนุญาตตามมติ ครม.                      จำนวน   2,425  คน

    2.1 แรงงานกัมพูชา          จำนวน    158  คน

    2.2 แรงงานลาว              จำนวน      18   คน

    2.3 แรงงานพม่า             จำนวน  2,249  คน

การพัฒนาทักษะฝีมือ

1. ฝึกเตรียมเข้าทำงาน                    –     คน

2. ฝึกยกระดับฝีมือ                      870  คน

3. ทดสอบมาตรฐานฝีมือ                 –      คน


การคุ้มครองแรงงาน

1. ตรวจคุ้มครอง                82  แห่ง  ลูกจ้าง     445  คน

2. ตรวจความปลอดภัย         29  แห่ง  ลูกจ้าง     273  คน

การประกันสังคม

1. จำนวนผู้รับบริการ     

    – จากกองทุนประกันสังคม           23,535  คน

    – จากกองทุนเงินทดแทน                     53  คน

2. สิทธิประโยชน์ที่จ่าย

   1. เจ็บป่วย        จำนวน 1,683 ราย    2,047,369.85 บาท

 2. คลอดบุตร     จำนวน   614  ราย  8,458,584.00บาท         3. ทุพพลภาพ     จำนวน     49  ราย     202,368.50  บาท

   4. ตาย              จำนวน     38  ราย    592,900.85  บาท

   5. สงเคราะห์บุตร จำนวน 20,419 ราย  8,766,300.00  บาท

   6. ชราภาพ         จำนวน   103  ราย 2,050,100.68  บาท

   7. ว่างงาน          จำนวน   629  ราย 1,422,272.20  บาท

        รวม              จำนวน  23,535 ราย    23,539,896.08  บาท

เครือข่ายแรงงาน

1.จำนวนอาสาสมัครแรงงาน  58  คน  ระดับหมู่บ้าน  545 คน

2.จำนวนหมู่บ้าน/ตำบลที่มีแผนงานด้านแรงงาน 58 แห่ง

3.จำนวนศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน 3 จุด

ค่าจ้างขั้นต่ำ (ปี 2555) (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555)

จังหวัดยะลา         240  บาท/วัน

จังหวัดปัตตานี       237  บาท/วัน

จังหวัดนราธิวาส     239  บาท/วัน

จังหวัดสตูล           241  บาท/วัน

จังหวัดสงขลา        246  บาท/วัน

กรงเทพมหานคร    300  บาท/วัน


สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน: จัดทำโดย  สำนักงานแรงงานจังหวัดยะลา

 * ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราสำหรับแรงงานที่มีวุฒิไม่เกินชั้น ม.6 ทั้งที่เพิ่งจบการศึกษาหรือจบมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่เคยทำงานหรือทำมาแล้ว ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการทำงานกับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันแล้วไม่เกิน 1 ปี

 

 

                                               

 

 

 

 

                         

 
 

 

 

 

 

อัตราการว่างงาน  = ผู้ว่างงาน x 100

                         ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

 

ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา

 

 

 

TOP