บทสรุปผู้บริหาร
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน ไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) ปี 2555 มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านแรงงานในจังหวัดยะลา ไตรมาส 4 ปี 2555 (ตุลาคม – ธันวาคม 2555) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพทางเศรษฐกิจ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลาร่วมกับสำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาเดือนธันวาคม 2555 และปี 2555 โดยสรุป
การประมวลผลดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศรายการสินค้าและบริการที่ใช้คำนวณมีจำนวน 417 รายการสำหรับจังหวัดยะลามี 240 รายการครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มเครื่องนุ่งห่มเคหสถานการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลยานพาหนะการขนส่งและการสื่อสารการบันเทิงการอ่านการศึกษาและการศาสนายาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนธันวาคม 2555
ในปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2555 เท่ากับ 116.86 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2555 เท่ากับ 116.41 สูงขึ้นร้อยละ 0.39 เทียบกับเดือนธันวาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 3.63 เทียบเฉลี่ยปี 2555 กับปี 2554 สูงขึ้นร้อยละ 3.02
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาเดือนธันวาคม2555
ในปี2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาเท่ากับ100 สำหรับเดือนธันวาคม2555 เท่ากับ125.5 และเดือนพฤศจิกายน2555 เท่ากับ124.0
3. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดยะลาเดือนธันวาคม2555เมื่อเทียบกับ
3.1เดือนพฤศจิกายน2555สูงขึ้นร้อยละ1.2
3.2เดือนธันวาคม2554สูงขึ้นร้อยละ4.5
3.3 เทียบเฉลี่ยปี2555 กับปี2554 สูงขึ้นร้อยละ2.6
![]() |
ประชากรและกำลังคน จังหวัดยะลา มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดยะลา (ข้อมูลไตรมาส 2 ปี 2555 (เมษายน-มิถุนายน)) มีจำนวน 381,883 คน ซึ่งเป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 272,022 คน ผู้มีงานทำ 267,974 คน ผู้ว่างงาน 4,048 คน
อุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาถึงประเภทอุตสาหกรรมหรือลักษณะของการประกอบกิจกรรมของผู้มีงานทำในเชิงเศรษฐกิจ พบว่า มีผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรมมากกว่านอกภาคเกษตรกรรม คือ ร้อยละ 67.00 และ 33.00 ตามลำดับ ทั้งนี้มีผู้งานทำนอกภาคเกษตรส่วนใหญ่ทำในสาขาอาชีพการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีจำนวน 31,948 คน คิดเป็นร้อยละ 11.90โรงแรมและภัตตาคาร มีจำนวน 12,380 คน คิดเป็นร้อยละ 4.6 การบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ มีจำนวน 9,380 คน คิดเป็นร้อยละ 3.5 ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การศึกษา,การก่อสร้าง,การผลิต ,การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคมฯลฯ ซึ่งมีไม่มากนัก
สถานภาพการทำงานในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 267,974 คนนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานผลการสำรวจครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานส่วนตัวมีจำนวน 100,873คน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.6รองลงมาคือช่วยธุรกิจครัวเรือน มีประมาณ 92,772 คน คิดเป็นร้อยละ 34.6 ลูกจ้างเอกชนมีประมาณ 51,087 คนคิดเป็นร้อยละ 19.1 ส่วนผู้ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นลูกจ้างรัฐบาลมีประมาณ 19,506 คน คิดเป็นร้อยละ 7.3สถานภาพการทำงานเป็นนายจ้างมีประมาณ 3,736 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4
การว่างงาน จังหวัดยะลามีผู้ว่างงานประมาณ 4,048 คน หรือมีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 2 ปี 2555 มีจำนวนผู้ว่างงาน 3,673 คน หรือร้อยละ 1.0) และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้วพบว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 1.1 (ไตรมาส 3 ปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงาน 2591 คน หรือร้อยละ 0.7)โดยผู้ว่างงานไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง จำนวน 2,063 คน และชาย จำนวน 1,985 คน
การบริการจัดหางานในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (ตุลาคม – ธันวาคม 2555) นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 500 อัตราโดยมีผู้สมัครงาน 1,769คน และการบรรจุงาน จำนวน 529 คน มีอัตราบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างร้อยละ 105.80 ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ต้องการสูงสุด คือ ระดับปวส.มีความต้องการ ร้อยละ 30.80 (154 อัตรา) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาคือร้อยละ 24.00 (120 อัตรา) สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ รถจักยานยนต์ ร้อยละ 33.27 (176 คน) รองลงมา การบริหาราชการ การป้องกันประเทศ การประกันสังคมภาคบังคับ ร้อยละ 18.71 (99 คน)
ความต้องการแรงงานของตลาดแรงงาน จังหวัดยะลาไตรมาส 4 ปี 2555(ตำแหน่งงานว่างที่นายจ้างแจ้งความต้องการ ได้แก่ ช่างฝีมืองานก่อสร้าง พนักงานขาย แรงงานทั่วไป พนักงานขับรถยนต์,รถยก fork-lift รถแทรกเตอร์,รถบดอัดถนน พนักงานจัดเรียงสินค้า พนักงานเสริฟ พนักงานบัญชี ช่างยนต์ ผู้ควบคุมงาน และ ช่างไฟฟ้า และในส่วนของการขาดแคลนแรงงานจังหวัดยะลา ในไตรมาสนี้ ได้แก่ ช่างฝีมืองานก่อสร้าง แรงงานทั่วไป พนักงานขับรถยก fork-lift รถแทรกเตอร์,รถบดอัดถนน ช่างยนต์,ช่างช่วงล่าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง แม่บ้าน ดีเจ ผู้จัดการ/กัปตันงานโรงแรม ช่างโรงพิมพ์ (ช่างพิมพ์,พับ.ตัด) และช่างกลโรงงาน
แรงงานต่างด้าว จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ เดือนธันวาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 142 คน เป็นแรงงานที่อนุญาตให้เข้ามาอยู่ชั่วคราว จำนวน 113 คน (ร้อยละ 79.58) ประเภทมาตรา 12 ยกเว้นมติครม. จำนวน 27 คน (ร้อยละ 19.01) และประเภทส่งเสริมการลงทุน จำนวน 2 คน (ร้อยละ 1.41)
สำหรับแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นแรงงานที่จังหวัดยะลาอนุญาตให้มาทำงานเป็นการชั่วคราว เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานในจังหวัดยะลาแรงงานในกลุ่มนี้มี 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับในปี 2555 ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2555 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบทะเบียนของสำนักงานจัดหางานจังหวัดยะลามีจำนวนทั้งสิ้น 2,136 คนหากพิจารณาตามสัญชาติ พบว่าสัญชาติพม่ามีจำนวน 2,075 คนคิดเป็นร้อยละ 97.14 ขณะที่แรงงานสัญชาติกัมพูชามีจำนวน55 คน คิดเป็นร้อยละ 2.58 และสัญชาติลาวมีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.28
แรงงานไทยในต่างประเทศ แรงงานไทยที่ลงทะเบียนไปทำงานต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2555(ตุลาคม – ธันวาคม 2555) จังหวัดยะลามีผู้แจ้งความประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 1 คน เพศชาย การศึกษาระดับปริญญาตรี
ในส่วนของแรงงานไทยที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศไตรมาส 4 ปี 2555 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย และหากพิจารณาตามวิธีการเดินทางพบว่า ส่วนใหญ่ไปโดยวิธี Re-Entry มีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 และวิธีเดินทางด้วยตนเอง มีจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.50 จากการสำรวจพบว่าแรงงานไทยโดยส่วนใหญ่แล้วจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศในส่วนภูมิภาคแถบเอเซีย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 และตะวันออกกลาง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50ของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน จังหวัดยะลามีผู้เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงานทั้งสิ้น จำนวน 79 คน ซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน พบว่า กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 46.84 (37 คน) ช่างกล ร้อยละ 37.97 (30 คน)และช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 15.19 (12 คน)
ทั้งนี้ การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 ซึ่งจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่ามีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับและผู้ผ่านการฝึกยกระดับ 3 กลุ่มอาชีพจำนวน 115คนซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานแยกเป็นกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์ ร้อยละ 43.48 (50 คน) เกษตรอุตสาหกรรม ร้อยละ 17.39 (20 คน) และธุรกิจและบริการ ร้อยละ 39.13 (45 คน)
สำหรับ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในจังหวัดยะลาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ ไตรมาสที่ 4 ปี 2555 พบว่ามีผู้เข้ารับการทดสอบทั้งสิ้นจำนวน 64 คนซึ่งพิจารณาตามกลุ่มอาชีพที่เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พบว่ากลุ่มอาชีพช่างเครื่องกลร้อยละ 64 (64 คน) และมีผู้ผ่านการทดสอบจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 จากผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมดส่วนใน 6 กลุ่มอาชีพที่เหลือ ไม่มีผู้เข้ารับการทดสอบ ( ช่างก่อสร้าง, ช่างอุตสาหกรรม, ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์, ช่างอุตสาหกรรมศิลป์, เกษตรอุตสาหกรรมและธุรกิจและบริการ)
การคุ้มครองแรงงาน สำหรับในไตรมาส 4ปี 2555 (ช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2555) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการทั้งสิ้น 69 แห่ง ลงลดร้อยละ 84.15 จากไตรมาสที่ผ่านมา (ไตรมาส 3ปี 2555 จำนวน 82 แห่ง) ไตรมาสนี้มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 2,092 คน จำแนกเป็นชาย 1,181 คน (ร้อยละ 56.45 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) หญิง 911 คน(ร้อยละ 43.55 ของลูกจ้างที่ตรวจทั้งหมด) ซึ่งสถานประกอบการที่เข้ารับการตรวจส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดต่ำกว่า 20 คนคิดเป็นร้อยละ 65.22 (45 แห่ง) ของสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจทั้งหมด รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด 20-499 คน คิดเป็นร้อยละ 34.78 (24 แห่ง)
การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 (ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2555) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการทั้งสิ้น 38 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 1,536 คน โดยในไตรมาส 4 นี้ มีการตรวจสถานประกอบการเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส32 ร้อยละ 31.04 (ไตรมาส 3 ตรวจ 29 แห่ง) ขณะที่สัดส่วนของลูกจ้างที่ได้รับการดูแลคุ้มครองแรงงานด้านความปลอดภัยลดลง (ไตรมาส 3 ลูกจ้างผ่านการตรวจ 273 คน)
การประสบอันตราย/เจ็บป่วยจากการทำงาน ในรอบไตรมาส 4 ปี 2555 เดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2555 พบว่าการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน มีทั้งสิ้น 44 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยในสถานประกอบขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 100-199 และ200-499 คน รวมลูกจ้างทั้งสิ้น 18 คน คิดเป็นร้อยละ 40.91 รองลงมาคือขนาด 5-9คน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 11.36 ตามลำดับและขนาด 1-4จำนวน 1 คน (ร้อยละ 2.27) และสถานประกอบการขนาด 1,000 คนขึ้นไป ไม่มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน
การเลิกจ้างแรงงาน สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา รายงานสถานะภาพการเลิกจ้าง ไตรมาส 4 ปี 2555 มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการจำนวน 8 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 60 คน ส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการที่มีขนาดตั้งแต่ 1-9 คน
การประกันสังคม ภารกิจด้านการประกันสังคมเป็นอีกภารกิจที่กระทรวง โดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลามีหน้าที่ต้องดูแลผู้ใช้แรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีหลักประกันชีวิตที่มั่นคงเมื่อยามแก่ชราอีกด้วย ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2555 พบว่ามีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมทั้งสิ้น 1,197 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาด1-4 คน คือมีจำนวน 751 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.74 ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 12,184 คน
กองทุนประกันสังคมพิจารณาตามประเภทของประโยชน์ทดแทน ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการมีทั้งสิ้น 24,035 ราย สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุดในไตรมาสนี้ได้แก่ กรณีสงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 20,732 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.26 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาได้แก่กรณี เจ็บป่วย มีจำนวน 1,813 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.54
หากพิจารณาตามปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน จะพบว่ามีการจ่ายเงินทั้งสิ้น 23,103,037.77 บาท โดยกรณีกรณีสงเคราะห์บุตร มีการจ่ายเงินสูงสุดถึง 8,828,350 บาท คิดเป็นร้อยละ38.21 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาคือกรณีคลอดบุตร จ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 7,676,826 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.23กรณีชราภาพ ว่างงานเจ็บป่วย ตาย และกรณีทุพพลภาพ มีการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน 2,223,015.68 บาท (ร้อยละ 9.62) 1,850,995.35 บาท (ร้อยละ 8.01) 1,576,463.70 บาท (ร้อยละ 6.82) 737,330.80 บาท(ร้อยละ 3.19)และ210,056.50 บาท(ร้อยละ 0.91) ตามลำดับ